fbpx

Posts Tagged tccc

อุปกรณ์ปฐมพยาบาลประจำบุคคล IFAK เพื่อฉก.นย.ทร.

เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะพื้นที่รับผิดชอบ ของกองพันทหารราบที่ 9 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน ทั้ง 5 อำเภอ 2 จังหวัด คือ อ.ไม้แก่น และ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และ อ.เมือง, อ.ยี่งอ และ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีการปะทะและเกิดความรุนแรงขึ้นบ่อยครั้ง

และทุกครั้งกองพลนาวิกโยธิน ได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ ในการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย และการก่อความไม่สงบทุกรูปแบบในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา เราได้รับรู้รับทราบและคอยติดตามอยู่เสมอ เช่นครั้งที่มีเหตุปะทะที่ฐานส้มป่อย วันที่ 9 มี.ค. 55 เราได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้บาดเจ็บ ซึ่งต่อมาได้รับการช่วยเหลือจากจุดเกิดเหตุและนำส่ง เจ้าหน้าที่พยาบาลบอกกับเราว่า

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 เวลาประมาณ 0010 นาฬิกา กลุ่มผู้ก่อความรุนแรง(ผกร.) เข้าโจมตีฐานปฏิบิติการบ้านส้มป่อย สังกัดหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ( ติดตามข่าวได้จากสื่อต่างๆ) ทำให้กำลังพลได้รับบาดเจ็บรวม 12 นาย ไม่มีการสูญเสียกำลังพล มีผู้บาดเจ็บสาหัสเป็นทหารนายหนึ่ง ถูกยิงเข้าใต้กระดูกไหปลาร้าซ้าย ทะลุปอดซ้าย

ผมเป็นหัวหน้าพยาบาลเข้าช่วยเหลือ ณ ที่เกิดเหตุ นำส่ง รพ.บาเจาะ แพทย์ได้รักษาเบื้องต้นโดยเจาะระบายเลือด-ลมจากช่องปอด และส่งรักษาต่อที่่ ร.พ.นราธิวาสฯ ขณะนำส่งมีแพทย์ทหารดูแลตลอดระยะทางประมาณ 40 ก.ม. เกิดการรั่วของผนึกสายระบายเลือด-ลม แพทย์ จึงใช้แผ่น HALO SEAL ซึงทางบริษัท ซี แอร์ ไทย จำกัด ได้บริจาคชุดอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินเชิงยุทธวิธีไว้ เมื่อ ปี ’54 ทำการปิด ป้องกันการรั่วก่อนนำเข้าผ่าตัดที่ รพ.นราธิวาสฯ ทำให้ทหารได้รับความปลอดภัย ปัจจุบันทหารพ้นขีดอันตราย รับการรักษาต่อเนื่องที่ ห้อง I.C.U.รพ.ในสังกัดกองทัพเรือ  แผ่น HALO SEAL ได้ผลดีมากครับ ผมขอเรียนขอบคุณ บริษัท ซี แอร์ ไทย จำกัด สำหรับอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินเชิงยุทธวิธีที่ท่านบริจาคให้

ในหลายๆเหตุการณ์ที่เราอาจจะนำมาเล่าไม่หมดนั้น แม้ว่ากำลังพลจะได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ไม่ทำให้นาวิกโยธินล่าถอย สิ่งที่เรากลับได้ยินจากปากนาวิกทุกท่าน ในวงสนทนาทุกครั้ง ทุกท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “รุก รบ ร่น ไม่ถอย เพราะนาวิกโยธินถอยไม่เป็น” Thai Marines never give up!

ในวันนี้แม้เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะยังไม่สงบก็ตาม เชื่อเหลือเกินว่าคนไทยผู้จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะเป็นกำลังใจและสนับสนุนนาวิกโยธินและทหารทุกหน่วย ให้ยืนหยัดรักษาแผ่นดินไทย ไม่ว่าท่านจะอยู่แห่งหนตำบลใด ให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงสืบไป

ภาพด้านบน : พิธีรับมอบอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ณ ฉก.นย.ทร. วันที่ 23 เมษายน 2555 เวลา 15:55:53 น.

ที่มา http://www.rtmtf.com/modules.php?name=activeshow_mod&file=article&asid=1607

เสธ.เสธ.ฉก.นย.ทร. เป็นผู้แทน ผบ.ฉก.นย.ทร. รับมอบอุปกรณ์การปฐมพยาบาลประจำบุคคล ( IFAK ) ณ บก.ฉก.นย.ทร. ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส

เมื่อ ๒๓ เม.ย.๕๕ น.ท.นึกอนันต์ แสนอุบล เสธ.ฉก.นย.ทร. เป็นผู้แทน ผบ.ฉก.นย.ทร. รับมอบอุปกรณ์การปฐมพยาบาลประจำบุคคล ( Individual First Aid Kit: IFAK ) สำหรับเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตประจำกายในการปฐมพยาบาลขั้นต้น ในกรณีประสบเหตุฉุกเฉิน จากคณะผู้บริหาร บริษัท ซี แอร์ ไทย จำกัด จำนวน ๘ ชุด มูลค่าทั้งสิ้น ๖๔,๐๐๐ บาท เพื่อแจกจ่ายให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.นย.ทร. ณ บก.ฉก.นย.ทร. ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส

Tags: , , , , ,

107 ปี แห่งพัฒนาการ ผ้าพันแผลภาคสนาม

ผมมีเรื่องราวของผ้าพันแผล (bandage) ซึ่งถูกใช้ปฐมพยาบาล และช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ และเป็นอุปกรณ์การแพทย์ขั้นพื้นฐาน ที่พบเห็นกันบ่อยและแสนจะธรรมดาที่สุด เท่าที่เราจะนึกได้ครับ แต่ผ้าพันแผลนั้นกลับมีเรื่องราว และการพัฒนามายาวนาน พอๆกับการกำเนิดของการแพทย์สมัยใหม่เลยทีเดียว

1941 Red Cross Manual showing how to stop bleeding.

คู่มือกาชาดปี 1941 แสดงการห้ามเลือดโดยการกดจุดชีพจร

ผมคงจะไม่เล่าถึงประวัติความเป็นมาของมันในอดีตมากนัก แต่จะเล่าถึงประโยชน์ จากการใช้ผ้าพันแผลทั้งในอดีต และพัฒนาการของผ้าพันแผลยุคใหม่ ที่หลายท่านยังอาจจะยังไม่เคยทราบครับ

ช่วงก่อนจะเข้าสู่ยุคของการแพทย์สมัยใหม่ (ก่อนปี ค.ศ. 1865 หรือ ราว 150 ปีก่อน) ในการผ่าตัดแต่ละครั้ง ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อ มากกว่าความรุนแรงของบาดแผลเองเสียเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ที่ทำการรักษา ก็มักจะให้ความสำคัญกับการลดการติดเชื้อ จากบาดแผลหลังการผ่าตัด เพราะยุคนั้นเรายังไม่มีค้นพบยาฆ่าเชื้ออย่างเพนิซิลินกันเลย บาดแผลติดเชื้อจึงเป็นปัญหาใหญ่ในการรักษา

ซึ่งต่อมาภายหลังจากการค้นพบยาฆ่าเชื้อ เพนิซิลินก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (ปี ค.ศ.1944 หรือ พ.ศ.2487) ดังนั้นแพทย์สนามและเสนารักษ์ในสงคราม จึงมีความกังวลเรื่องการติดเชื้อในบาดแผลมากกว่าสิ่งอื่นใดครับ

จากจุดนี่เอง การดูแลผู้บาดเจ็บก่อนการนำส่งถึงโรงพยาบาล pre-hospital care จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญ ตั้งแต่นาทีที่เกิดเหตุ โดยผู้ช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ (ก็คือผู้ที่อยู่รอบตัวผู้บาดเจ็บนั่นเอง ซึ่งไม่ใช่แพทย์หรือพยาบาล) จำเป็นต้องทำทุกวิธีทาง ในการช่วยชีวิตคนเจ็บให้รอดจากความตาย จนไปถึงมือหมอได้อย่างปลอดภัย ในสภาวะความกดดันต่างๆ

Femoral Artery

ภาพในห้องทดลอง แสดงเส้นเลือดใหญ่ ที่ต้นขาของสุกร

ในสมัยนั้นคู่มือการปฐมพยาบาล จึงไม่สอนให้เราใช้อุปกรณ์ใดๆกดลงบนบาดแผลโดยตรง เพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกอย่างรุนแรงจากเส้นเลือดใหญ่ เนื่องจากกลัวการติดเชื้อ แต่จะสอนการห้ามเลือด โดยการกดจุดชีพจร และยกบาดแผลให้สูงกว่าหัวใจแทน

ซึ่งวิธีนี้มักจะได้ผลในช่วง 15 นาทีแรกเท่านั้น เพราะแรงกดจะเริ่มไม่สม่ำเสมอจากนิ้วที่ล้ากำลังลงของผู้ทำการช่วยเหลือ จากการกดไว้นานๆ หลังจากนั้นจึงมีการแนะนำให้ใช้ สายรัดห้ามเลือด(ทูนิเก้) ในการห้ามเลือดแทนการกดด้วยมือ เพราะสามารถใช้งานได้ผล และยาวนานกว่า หลังจากเลือดแข็งตัวและหยุดไหลแล้ว จึงใช้ผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อ มาปิดทับบนบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป

ผ้าพันแผลสำหรับใช้งานภาคสนามชนิดแรก จึงถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1904 (ปี พ.ศ.2447) ชื่อว่า คาไลน์ เดรสซิ่ง ตามชื่อค่ายทหารในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มันถูกผลิตจากผ้าก๊อซสีขาว เย็บติดกับผ้าฝ้ายแถบยาวสีเขียวมะกอก และบรรจุกล่องดีบุก ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นบรรจุซองสีน้ำตาล(ปัจจุบันบรรจุซองสีน้ำตาล และใส่ซองพลาสติกใส) เพื่อใช้ปิดบนแผลไม่ให้แผล มีสิ่งสกปรกเข้าไป มันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งก็เกือบร้อยปีมาแล้วครับ) และในประเทศไทย มันยังคงเป็นผ้าพันแผล ที่มีแจกจ่ายให้ใช้ห้ามเลือด โดยไม่จำแนกความรุนแรงของบาดแผล และมีใช้แพร่หลายทุกเหล่าทัพเลยทีเดียว

แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ห้ามเลือด ในบาดแผลฉกรรจ์ เช่น บาดแผลถูกยิง, บาดแผลระเบิด ฯ ที่เลือดออกอย่างรุนแรงได้เลย เพราะมันถูกออกแบบมาให้ใช้ปิด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลสกปรก หรือขยายกว้างขึ้นเท่านั้น

Thai Army Carlisle Dressing, Israeli Bandage, and Olaes Bandage

(ขวาสุด) ผ้าพันแผลของไทยเลียนแบบ Carlisle Dressing, (บนสุด) Israeli Bandage และ (ล่างซ้าย) Olaes Bandage

ภายหลังจากที่มีการใช้ยาฆ่าเชื้อ สำหรับป้องกันการติดเชื้อบนบาดแผลได้สำเร็จ ก็ได้มีการนำมาตร การป้องกันการเสียเลือดอย่างรุนแรง มาใช้กับบาดแผลโดยตรง เพราะแพทย์และเสนารักษ์ในสนาม ไม่มีความกังวลว่าจะทำให้คนไข้เสียชีวิต เพราะแผลติดเชื้อเหมือนในอดีตอีกแล้ว การใช้ผ้าก๊อซกดลงโดยตรง ในจุดที่เลือดออกบนบาดแผล จึงเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการหยุดเลือด ผ้าก๊อซที่มีเส้นใยถักทอผสานกันอย่างแน่นหนานั้น ออกแบบเพื่อช่วยให้เกล็ดเลือด เกาะยึดเป็นผนัง และแข็งตัวทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น

แต่ถ้าเป็นบาดแผลที่เลือดออกรุนแรง แพทย์สนามจะใช้วิธีการอัดผ้าก๊อซลงไปในบาดแผล (wound packing) แทนที่จะปิดหรือโปะไว้แต่เพียงปากแผล เพราะตำแหน่งของเส้นเลือดใหญ่นั้น จะอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนังในบาดแผล ดังนั้นการอัดผ้าก๊อซลงในบาดแผลให้แน่น จะเป็นการสร้างแรงกดบนรอยแตกที่เส้นเลือดใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ในโรงพยาบาลเมื่อ 50 ปีก่อน ห้ามทำโดยเด็ดขาด เพราะไม่ต้องการให้คนไข้ เสียชีวิตจากการที่บาดแผลติดเชื้อ

แต่อย่างที่กล่าวมาในตอนต้นครับว่า ปัจุบันวิทยาการของยารักษาอาการติดเชื้อ และยาฆ่าเชื้อได้พัฒนาไปมากกว่าแค่เพนิซิลินแล้ว ดังนั้นเมื่อมียาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผล ผ้าพันแผลสำหรับงานภาคสนาม โดยเฉพาะในงานเชิงยุทธวิธีนั้น จึงพัฒนาตามไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงขั้นตอนการใช้งานด้วยเช่นกัน ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว บาดแผลในสนามรบ ก็ไม่ใช่แผลที่สะอาดตั้งแต่ต้น และก็เป็นการยากที่จะทำให้แผลไม่สกปรกได้ ซึ่งบาดแผลเปิดเหล่านี้ จนแล้วจนรอดก็ต้องได้รับการฆ่าเชื้อ เมื่อนำผู้บาดเจ็บส่งถึงโรงพยาบาล อันเป็นขั้นตอนปกติที่ปฏิบัติกันอยู่แล้ว

ราวๆช่วงปี ค.ศ.1990 จึงได้มีการคิดค้น ผ้าพันแผลสำหรับแพทย์สนาม โดยใช้ชื่อว่า “Israeli Bandage” (อิสราเอลลี่ แบนเดจ) ผ้าพันแผลนี้มีการติดแท่งพลาสติกเสริมแรงกด (pressure bar) เพื่อเพิ่มแรงในการกดลงบนบาดแผล พร้อมผ้ายืดพันแผล ช่วยในการหยุดเลือดให้ดียิ่งขึ้น ผ้าพันแผลอิสราเอลลี่ แบนเดจนั้น ใช้งานได้ดีในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา แต่ปัญหาก็คือ มันใช้ได้ผลแค่เพียงบาดแผลที่ไม่ลึกนัก และในแผลที่เส้นเลือดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหาย เพราะแท่งเสริมแรงกดที่เพิ่มขึ้นมานั้น ไม่สามารถสร้างแรงกดได้เพียงพอ ที่จะหยุดเลือดจากเส้นเลือดใหญ่ในแผลฉกรรจ์ได้ ดังนั้นหากเป็นบาดแผลจากการสงคราม เช่น แผลถูกแทง, ถูกยิง หรือบาดแผลจากสะเก็ดระเบิด เราก็ยังต้องใช้ผ้าก๊อซ อัดลงในบาดแผล หรือวิธีการ Wound Packing ร่วมไปกับอิสราเอลลี่ แบนเดจ พร้อมกันทั้งสองอย่างอยู่ดี เพราะอิสราเอลลี่ แบนเดจ มีเพียงก็อซเพื่อปิดเพียงบนปากแผล แต่หากเป็นแผลลึก อิสราเอลลี่ แบนเดจ ก็จะมีประโยชน์ไม่ต่างจากผ้าพันแผลคาไลน์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำได้เพียง ปิดป้องกันสิ่งสกปรกเข้าสู่บาดแผลเท่านั้น

Olaes Bandage

ผ้าพันแผล Olaes Bandage

ด้วยเหตุนี้ หลังจากพบข้อด้อยของอิสราเอลลี่ แบนเดจที่ใช้กันมากว่า 20 ปี จึงมีการพัฒนาผ้าพันแผล จนมาถึงยุคของผ้าพันแผลสมัยใหม่อย่าง โอลด์ แบนเดจ (Olaes Bandage) ที่นำเอาข้อดีของอิสราเอลลี่ แบนเดจ และผ้าก๊อซเข้าไว้รวมกันในชิ้นเดียว อลด์ แบนเดสามารถใช้กับบาดแผลทั่วๆไป หรือบาดแผลฉกรรจ์ได้ เพราะผ้าปิดแผลจะช่วยป้องกันบาดแผลจากสิ่งสกปรก และสำหรับบาดแผลที่ลึกลงไป ก็สามารถดึงก๊อซที่อยู่ด้านในห่อผ้าปิดแผล ออกมาอัดลงในบาดแผล โดยวิธี Wound Packing ได้ทันที เพื่อช่วยห้ามเลือด ก่อนที่จะพันรอบบาดแผลด้วยผ้ายืด ทับไปโดยรอบให้แน่นอีกทีหนึ่ง

ผ้าพันแผลโอลด์ แบนเดจ ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหา และปิดข้อด้อยของอิสราเอลลี่ แบนเดจได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังออกแบบให้พันได้ด้วยมือข้างเดียว มีระบบป้องกันผ้ายืดคลายตัว, มีพลาสติกเสริมแรงกด, พร้อมแผ่นไซโลเฟน คล้ายพลาสติกใส ใช้ปิดแผลถูกยิงช่วงอก และยังลดพื้นที่การจัดเก็บ ในกระเป๋าปฐมพยาบาลประจำบุคคล ลงด้วยการบรรจุซองสูญญากาศอีกด้วย

ช่วยลดเวลาในการดูแลผู้บาดเจ็บ และลดขั้นตอนการปฐมพยาบาลลง ให้เหมาะสมกับการใช้ห้ามเลือด ภายใต้สถานการณ์ตึงเครียด เพื่อช่วยผู้บาดเจ็บที่กำลังเสียเลือดอย่างรุนแรง และเสี่ยงต่อการรอดชีวิตได้ทันท่วงที

กล่าวถึงชื่อแปลกๆของโอลด์ แบนเดจ กันสักนิดครับ Olaes Bandage ผู้คิดค้นมันขึ้นมาคือ รอส จอห์นสัน เขาตั้งชื่อผ้าพันแผลนี้ จากชื่อเพื่อนรักของเขาคือ จ่าโทนี่ บี โอลด์ (Staff Sgt. Tony B. Olaes) จ่าโอลด์เป็นเสนารักษ์ประจำกรมรบพิเศษที่ 3 ของกองทัพบกสหรัฐฯ เช่นเดียวกับรอส แต่เขากลับต้องมาเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 30 ปี จากการถูกซุ่มโจมตีของตาลีบัน ระหว่างลาดตระเวนในจังหวัดปาติก้า ประเทศอัฟกันนิสถาน เดือนกันยายนปี 2004 โดยรอสได้นำเอานามสกุลของเพื่อนรัก มาตั้งเป็นเกียรติและเป็นความทรงจำที่ดีตลอดไปนั่นเองครับ

ต้องยอมรับว่า เรื่องราวของผ้าพันแผลที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น มาจากการเสียเลือดเนื้อและชีวิต ของทหารทุกเชื้อชาติในยามศึกสงคราม หากไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้น การพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ภาคสนามในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากการช่วยชีวิตในโรงพยาบาล ก็คงไม่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์กับผู้อยู่เบื้องหลัง อย่างผมและทุกท่านเช่นในวันนี้

สนใจเรื่องราวของผ้าพันแผล Olaes Bandage สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่ายได้โดยตรงที่ Safe House และสำหรับหน่วยงานราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน เรายินดีเป็นอย่างยิ่งในการตอบคำถาม และข้อสงสัยในอุปกรณ์การช่วยชีวิตภาคสนามครับ

Tags: , , , , , ,

จากผงสู่ ผ้าก็อซห้ามเลือด QuikClot Combat Gauze

สารช่วยห้ามเลือด เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ ของหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังมีข้อมูลที่ผิดพลาดมากมาย ในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งเราได้รวบรวมและนำเสนอในบทความนี้ครับ ผู้ผลิตอุปกรณ์ห้ามเลือด ยี่ห้อที่เรารู้จักกันดี คือ Quikclot (Gen 1) เป็นผงห้ามเลือดรุ่นแรกๆ ที่เมื่อผลิตออกมาถือว่าเป็นสารห้ามเลือดรุ่นใหม่ เรียกได้ว่าทันสมัย และมีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ตามรายงานการวิจัยในปี 2003 ระบุว่ามันใช้งานได้ผลดี และได้ผ่านการรับรองให้ใช้ในหน่วยทหารของกองทัพสหรัฐฯ ที่ประจำการในประเทศอริคและอัฟกันนิสถาน

Original QuikClot, QuikClot ACS+, QuikClot Combat Gauze, and CELOX

Original QuikClot, QuikClot ACS+, QuikClot Combat Gauze, and CELOX

หลังจากนั้นมา ก็มีสารห้ามเลือดแบบอื่นๆผลิตขึ้น บางชนิดก็ได้ผล บางชนิดก็มีปัญหาจนเลิกผลิตไป สารห้ามเลือดเหล่านี้ มีหลักการทำงานที่อธิบายง่ายๆคือ มันจะช่วยเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เส้นเลือดเกิดการแข็งตัว แต่จะให้ได้ผลชัดเจน จะต้องสัมผัสกับเส้นเลือดใหญ่โดยตรง ซึ่งความดันในเส้นเลือดนั้นมีสูง และถ้าไม่สัมผัสให้โดนเส้นเลือดจริงๆ ประสิทธิภาพในการห้ามเลือดจะลดลง หรือไม่ได้ผลเต็มที่

สารห้ามเลือดในรูปของแผ่นห้ามเลือด ถูกผลิตออกมาหลังจากผงห้ามเลือดมีใช้งานอย่างแพร่หลาย บางยี่ห้อใช้ไคโตซาน(สารสกัดจากเปลือกนอกของสัตว์ เช่น เปลือกหอย, ปู หรือกุ้งฯ) เป็นสารตั้งต้น ซึ่งอาจมีความเสี่ยง หากผู้บาดเจ็บแพ้อาหารทะเล โดยทำออกมาในลักษณะแผ่น เช่น ยี่ห้อ Hemcon, Sea Shell ซึ่งนำมาใช้งานในภาคสนามได้ยาก เพราะในการสัมผัสกับเส้นเลือดใหญ่ได้นั้น ผู้ใช้จะต้องหักออกเป็นชิ้นๆ และกดแผ่นที่หักนั้นลงให้ตรงจุดที่เส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด ซึ่งต้องทำในสภาพแวดล้อม อย่างในโรงพยาบาลจึงจะเหมาะสม อย่าลืมว่าการใช้งานแผ่นห้ามเลือดเหล่านี้ ต้องสัมผัสให้โดนเส้นเลือดใหญ่จริงๆ และต้องออกแรงกดไว้อย่างน้อย 5 นาที

ดังนั้นสารห้ามเลือดรุ่นล่าสุด จึงมีการพัฒนาให้บรรจุอยู่ในรูปแบบของผ้าก็อซ เพื่อให้ได้ผลดี และใช้ในงานภาคสนามได้ทันที ผ้าก็อซที่บรรจุสารห้ามเลือด จึงถูกผลิตขึ้นเพื่อให้เอื้อต่อการใช้งาน ที่ผู้บาดเจ็บยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อันตราย โดยสามารถกดลงบนบาดแผลได้ง่ายกว่า สารห้ามเลือดในรูปแบบอื่นๆ สารห้ามเลือดแบบผงนั้น จะต้องเทลงบนบาดแผล แล้วจึงเอาผ้าพันแผลมาพันหรือกดทับลงไป ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ร่วมกัน 2 ชนิด หากใช้งานในระหว่างที่ทหารถูกปะทะ ภายใต้สภาวะกดดันในสนามรบ และเสี่ยงต่อความเป็นความตาย การใช้ผงห้ามเลือดหรือแผ่นห้ามเลือด จะเป็นการยากต่อการปฏิบัติ

CELOX Hemostatic Granules

CELOX Hemostatic Granules

ในปัจจุบันกองท้พสหรัฐฯ (US Military) ได้บรรจุ QuikClot Combat Gauze ให้เป็นสารห้ามเลือดชนิดเดียว ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้งานกับทหาร Combat Gauze ออกมาแก้ปัญหาเดิมของผลิตภัณฑ์ QuikClot ในรุ่นแรกๆอย่างสิ้นเชิง โดยในรุ่น Gen 1 ของ Quikclot ของเดิมนั้น อยู่ในรูปของผงห้ามเลือด และเมื่อสัมผัสกับแผลจะเกิดความร้อน และผงดังกล่าวอาจปลิวเข้าตา และทำอันตรายต่อดวงตา ไม่เหมาะจะใช้งานโดยเฉพาะการนำส่งผู้บาดเจ็บทางอากาศยาน ออกจากจุดเกิดเหตุ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อดวงตานักบินได้

QuikClot รุ่นแรกๆในรูปแบบผงห้ามเลือดนั้น ใช้ผงแร่ ‘Zeolite’ ในการผลิตผงห้ามเลือด (เราอาจจะเคยเห็นภาพการใช้งาน จากหนังเรื่อง Shooter ซึ่งเป็นการเทลงบนแผล โดยไม่มีการกด บอกเลยครับว่า ดูหนังเอาสนุกได้ครับ แต่นั่นเป็นการใช้งานผิดวิธี อย่าลอกเลียนแบบนะครับ), ในรุ่นที่สอง QuikClot ACS+ ได้เปลี่ยนมาเป็นผง ที่มีอนุภาคใหญ่ขึ้น และบรรจุผงนั้นไว้ใน “ถุงตาข่าย” แทนที่จะบรรจุลงซองเพียงอย่างเดียว โดยใช้ถุงนี้เป็นตัวกดลงบนแผลให้แน่นยิ่งขึ้น, ในรุ่นที่สาม QuikClot Combat Gauze ซึ่งเป็นการนำสารเร่งการแข็งตัวของเลือด ‘Kaolin’ มาบรรจุลงบนผ้าก็อซ ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการห้ามเลือดได้ดี เท่ากับผงห้ามเลือด แต่ไม่ทำปฏิกิริยาความร้อน และไม่ส่งผลข้างเคียงในการใช้งาน QuikClot Combat Gauze จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผ่านการอนุมัติให้ใช้อย่างแพร่หลาย ในกองทัพสหรัฐเพื่อการห้ามเลือดจากเส้นเลือดใหญ่อยู่ในขณะนี้

QuikClot ACS+

QuikClot ACS+

QuikClot Combat Gauze รุ่นใหม่ บรรจุในซองสูญญากาศ และมีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถเก็บในกระเป๋าอุปกรณ์ปฐมพยาบาลประจำบุคคลได้อย่างไม่เทอะทะ ไม่ต้องกลัวหักแบบแผ่นห้ามเลือด หรือเป็นผงปลิวเลอะเทอะในระหว่างใช้งาน แบบผงห้ามเลือด ผ้าก็อซเรียงตัวกันแบบพับทบตัว Z จึงไม่จำเป็นต้องแกะก็อซออกจากม้วนก่อน แล้วจึงกดลงในบาดแผล ทำให้สามารถฉีกซองพร้อมใช้งานได้รวดเร็วทันที

และเนื่องจากต้องกดและสัมผัสลงในบาดแผล QuikClot Combat Gauze ยังมีแถบสีแสดงผลในฟิล์มเอ๊กซเรย์ เพื่อช่วยให้การล้างทำความสะอาดแผลได้อย่างหมดจดและปลอดภัย เมื่อผู้บาดเจ็บถูกส่งถึงโรงพยาบาล จึงไม่มีโอกาสที่ก็อซจะตกค้างอยู่ในแผลในระหว่างการผ่าตัด

QuikClot Combat Gauze ผ่านการอนุมัติจาก FDA องค์การอาหารและยา ทั้งในประเทศอเมริกาและ FDA ประเทศไทย วางจำหน่ายแล้วที่ Safe House ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาติโดยตรงจากผู้ผลิตครับ เพื่อความปลอดภัยของท่าน โปรดตรวจดูวันหมดอายุของอุปกรณ์ การเก็บรักษาที่ถูกวิธี และในอุณหภูมิที่เหมาะสม หรือซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ที่สามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้ เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์เป็นของใหม่ และปลอดภัยต่อการใช้งานครับ

หวังว่าข้อมูลของสารห้ามเลือดรุ่นใหม่นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ให้สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยชีวิตคุณและคนที่คุณรัก ได้อย่างปลอดภัยครับ

Tags: , , , , , , , , ,

Survival Blanket อุ่นร่างกาย ห่างไกล Hypothermia

ผมมีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ survival blanket ผ้าห่มฉุกเฉิน, ผ้าห่มรักษาอุณหภูมิ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตและยังชีพที่สำคัญชิ้นหนึ่ง มาแนะนำครับ ในแง่ของการทำให้ร่างกายอบอุ่นนั้น ฟังดูไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก สาเหตุหลักก็เพื่อป้องกันอาการ hypothermia (ไฮโปเธอร์เมีย) หรือภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่าปกติ หลายท่านอาจจะไม่เคยได้ยินคำนี้ แต่ถ้าดูสารคดี survival บ่อยๆจะคุ้นหูครับ ผมขอให้ข้อมูลว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และทำไมทุกท่านควรจะทราบ

Heatsheets Blanket

โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของคนปกตินั้น จะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิปกตินี้ สามารถเพิ่มหรือลดได้ ตามสภาวะแวดล้อม และสุขภาพของแต่ละคน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ที่ 37 หรือ 38 องศาเซลเซียสเสมอไปครับ ภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่าปกติ (ไฮโปเธอร์เมีย) จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายที่สูญเสียออกไป มากกว่าที่ระบบการเผาผลาญในร่างกาย สร้างความร้อนขึ้นมาทดแทนได้ทัน อาการจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิแกนกลางร่างกายเราต่ำลง อาการขั้นต้นที่สังเกตุได้ คือ หนาวสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, มือ แขน ขา เริ่มชา, สับสนฯ

การเกิดไฮโปเธอร์เมียระยะแรกนั้น ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่มันจะเริ่มทำให้เกิดอาการสับสน จากการสั่งการของสมองเราผิดปกติ ความอันตรายจึงอยู่ที่ เราอาจเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด แต่หากอุณหภูมิยังคงต่ำลงไปเรื่อยๆ และยังปล่อยไว้โดยไม่แก้ไข ร่างกายจะหยุดหนาวสั่น กล้ามเนื้อจะเกร็งตัว และหัวใจหรือสมองจะไม่ทำงาน เป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด

โชคดีที่ประเทศไทยนั้นอยู่ในเขตร้อน มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี ไฮโปเธอร์เมียจากความหนาวเย็น จึงเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นกับเราได้ สาเหตุหลักๆมีด้วยกัน 3 ประการ คือ อย่างแรกคือการสูญเสียความร้อนของร่างกาย จากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น อุณหภูมิที่หนาวเย็น, การตากฝน, เล่นน้ำนานๆ, ใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้นนานๆ

ประการที่สอง คือ การขาดแคลนความสามารถในการสร้างความร้อน ภายในร่างกาย เช่น การขาดน้ำ และอาหาร หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ, การป่วย, ร่างกายอ่อนแอมาก่อนจากการป่วย หรือเพลียมากๆ

ประการสุดท้าย คือ การบาดเจ็บ, บาดแผลจากไฟไหม้, การเสียเลือดอย่างรุนแรง จากอุบัติเหตุ หรือจากการถูกทำร้าย ก็ส่งผลให้เกิดอาการที่ร่างกาย สร้างความร้อนไม่ทันกับอุณหภูมิความร้อนที่สูญเสียไปได้ครับ

Heatsheets Blanket

หากคุณมีสุขภาพดี แล้วออกไปตากฝนนอกบ้านไม่นาน หรือใช้เสื้อกันฝน ก็คงไม่ทำให้คุณเกิดอาการไฮโปเธอร์เมียได้ง่ายๆ แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณหลงในป่า อยู่ในพื้นที่ชื้นแฉะ, ลมเย็นพัดกรรโชกแรง, ขาดน้ำ หรือบาดเจ็บจากสาเหตุต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ระบบการทำงานในร่างกาย เริ่มแปรปรวนผิดปกติ ถ้าสาเหตุ 2 ใน 3 เกิดขึ้นพร้อมกัน ก็สามารถทำให้คุณเกิดอาการไฮโปเธอร์เมีย และเป็นปัญหาร้ายแรงได้

ทางที่ดีที่สุดในการรักษาอาการนี้ก็คือ การป้องกัน แน่นอนว่าไม่มีใครอยากจะหลงป่า, ประสบอุบัติเหตุ หรือ อดอาหารอดน้ำเป็นแน่ แต่หากเลี่ยงไม่ได้ Survival Blanket หรือผ้าห่มฉุกเฉิน ก็เป็นอีกทางเลือก ที่มีติดตัวไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง ต่อความเป็นความตายในยามที่คุณต้องการได้เลยทีเดียว

Survival  Blanket, Emergency Blanket หรือ Space blanket แรกเริ่มเดิมทีนั้น ถูกพัฒนาโดยองศ์การนาซ่า (NASA) ใน ปี 1964  เพื่อใช้ในโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกาครับ โดยใช้เป็นส่วนประกอบของชุดนักบินอวกาศ เพื่อเป็นฉนวนกันรังสี และเป็นตัวป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายนักบินอวกาศ รวมทั้้งใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ที่ใช้คลุมภายนอกยานสำรวจวิจัยในอวกาศอีกด้วย

ระยะแรกนั้นมันถูกผลิตจากแผ่นพลาสติกบางๆเคลือบอลูมิเนียม ด้วยความคิดง่ายๆว่า มันเป็นตัวสะท้อนความร้อนกลับสู่ร่างกายของเราเอง มันจึงไม่ได้ออกแบบให้เกิดความอบอุ่น แต่มันช่วยหน่วงเวลาการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย แต่มันไม่สามารถช่วยให้ร่างกายของคุณ หายป่วย หรือทำให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้แต่อย่างใด

ปัญหาใหญ่ของผ้าห่มฉุกเฉิน หรือผ้าห่มอวกาศแบบเก่า คือมันมีความบางเกินไป ไม่สามารถนำมาใช้งานในการยังชีพได้ แถมความบางก็ยังทำให้ขาดง่ายเข้าไปอีก จึงเอามาใช้ทำที่หลบภัยชั่วคราวไม่ได้ ที่แย่คือเมื่อขยับมันจะส่งเสียงกรอบแกรบ อยู่ตลอดเวลาอย่างน่ารำคาญ และนำกลับมาใช้งานใหม่แทบไม่ได้ ดังนั้นก่อนซื้อ Survival Blanket ควรพิจารณาความแตกต่าง ด้านวัสดุ, คุณภาพ, ความหนาฯ อย่าเพิ่งตัดสินใจซื้อ เพราะราคาถูกอย่างเดียวนะครับ

Adventure Medical Kit ได้ออกแบบ Survival Blanket รุ่น Heatsheets เป็นผ้าห่มฉุกเฉินแบบใหม่ ที่มีความทนทานสูง มีสีส้มมองเห็นจากระยะไกล ทำขึ้นจากวัสดุประเภทพลาสติกชนิด BOPET (Biaxially Oriented Polyethylene Terephthalate) มีคุณสมบัติทนทานต่อการฉีกขาด หรือการกดกระแทก รักษารูปทรงได้ดีในอุณหภูมิระดับต่างๆ ทนความร้อนสูง ทนทานต่อความชื้น ทนสารเคมี และตัวทําละลายได้หลากหลาย นำมาปิดด้วยแผ่นฟิล์ม METALLIZED ซึ่งเป็นแผ่นฟิล์มที่ผ่านกระบวนการฉาบด้วยอลูมิเนียม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติความทึบแสง สะท้อนแสงและเป็น ฉนวนกันความร้อนด้วย

Heatsheets สามารถนำมาใช้ในหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การห่มให้ความอบอุ่นแทนผ้านวม, เป็นถุงนอนฉุกเฉิน, เป็นฉนวนกันความร้อนสำหรับพื้นเต้นท์ และสามารถใช้ในการการส่งสัญญาณได้ด้วย โดย Heatsheets จะมี 2 ด้านๆหนึ่งเป็นสีส้ม เพื่อให้สังเกตุง่ายและอีกด้านเป็นสีเงินสะท้อนแสง รวมทั้งยังสามารถลดการสูญเสียของร่างกายความร้อนได้ถึง 90% โดยตัวผ้ามีคุณสมบัติกันน้ำกันลมได้ ไม่เกิดเสียงดัง

อีกหนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจของ Heatsheets จาก Adventure Medical Kit คือ มีการพิมพ์หลักการเอาตัวรอดขั้นพื้นฐาน ที่จำเป็นต้องรู้ในการดำรงชีพ เช่น คำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น,  คำแนะนำในการหาแหล่งน้ำ, การจุดไฟ, การสร้างที่พักอาศัยชั่วคราว และการส่งสัญญาณ สำหรับขอความช่วยเหลือ ลงบนตัวผลิตภันณ์ในด้านที่มีสีส้ม โดยเน้นให้อ่านง่ายและชัดเจนที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน

TacMed Solutions Helios

Heatsheets มีขนาด 60 x 96  นิ้ว และมีน้ำหนักเพียง 85 กรัม บางกว่ากระดาษ A4 แต่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถพับลงกระเป๋าเป้สะพายหลังได้ โดยไม่ต้องการพื้นที่เก็บมาก มันมีขนาดใหญ่พอสำหรับห่มได้สูงสุด 2 คน และมีความทนทานมากพอสำหรับการใช้งานทั่วๆไป แต่ต้องระวังไม่ให้ถูกของแหลมหรือของมีคมครับ แต่ถ้าเกิดมีรูหรือฉีกขาดขึ้นมา วิธีแก้ง่ายๆ โดยใช้เทปกาว Tenacious ปิดตรงรูหรือรอยฉีกขาด แล้วสามารถใช้งานต่อได้ทันทีเลยครับ

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนารูปแบบของผ้าห่มฉุกเฉินมาโดยตลอด ทั้งผลิตให้ทนมากขึ้น ใช้งานหนักได้มากขึ้น ผมแนะนำ Heatsheets เพราะคุณสมบัติและคุณภาพที่ดีกว่า มันอาจจะมีราคาสูงกว่าผ้าห่มแบบเก่า ที่ผลิตตามแบบ Survival  Blanket ในยุคปี 1960 แต่ก็ถูกกว่าผ้าห่มชนิดพิเศษ ที่ใช้ในนำส่งผู้บาดเจ็บทางทหารและงานค้นหากู้ภัยอยู่มาก

เพราะอุปกรณ์รักษาอุณหภูมิของผู้บาดเจ็บ ซึ่งออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้ช่วยชีวิตในสนามรบ อย่างผ้าห่ม Helios จาก Tactical Medical Solutions นั้น ใช้หลักการคล้ายกับ Survival Blanket แต่จะให้ความอบอุ่นร่างกายได้รวดเร็วและมากกว่า โดยห่อหุ้มตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า และมี Heating pad แผ่นสร้างความร้อนจากปฏิกิริยาทางเคมี ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายผู้บาดเจ็บได้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ร่างกายสูญเสียความสามารถ ในการรักษาอุณหภูมิปกติจากการถูกยิง, โดนระเบิด และกำลังเข้าสู่ภาวะช็อค จากการเสียโลหิตอย่างรุนแรง มันจึงเป็นผ้าห่มฉุกเฉินรุ่นพิเศษ ที่จำเป็นอย่างมากในการนำส่งผู้ป่วยหรือบาดเจ็บ, การนำส่งออกจากจุดเกิดเหตุ หรือการนำส่งทางอากาศ

ผมหวังว่าทุกท่านจะเห็นความสำคัญ ในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ให้สามารถเดินทางและปฏิบัติหน้าที่การงาน ที่สำคัญได้ทั่วทุกมุมโลก Safe House และทีมงาน พร้อมให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ของอุปกรณ์เพื่อชีวิตและความปลอดภัยของทุกท่านครับ

สนใจสั่งซื้อ Survival blanket รุ่น Heatsheets จาก Adventure Medical Kits หรือ ผ้าห่ม Helios ได้แล้ววันนี้ที่ Safe House ครับ

Tags: , , , , , ,

เตือนภัย: สายรัดห้ามเลือดปลอม อันตรายถึงตาย!

httpv://www.youtube.com/watch?v=pGKti3fGlnI

บทเรียนความจริง ที่น่ากลัวของสายรัดห้ามเลือดปลอมนี้ ได้คร่าชีวิตทหารผู้หนึ่ง ที่หวังจะใช้มันห้ามเลือด แต่ต้องพบกับความล้มเหลว ที่แลกมาด้วยชีวิตอย่างรู้เท่าไม่ถึงการ เราจึงได้จัดทำวีดีโอนี้ เพื่อเตือนถึงอันตราย ของการใช้สายรัดห้ามเลือด ซึ่งทำเลียนแบบ โดยเฉพาะท่านที่เป็นเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ และผู้ที่ปฏิบัติงานเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ซึ่งจำเป็นต้องมี หรือพกพาสายรัดห้ามเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ภาคสนามประจำบุคคล เพื่อช่วยในการห้ามเลือดจากบาดแผลฉกรรจ์ ที่เกิดจากการปะทะ หรือจากอาวุธสงคราม

หน้าที่หลักของสายรัดห้ามเลือด เป็นอุปกรณ์ห้ามเลือดฉุกเฉิน เพื่อหยุดเลือดจากเส้นเลือดใหญ่ บริเวณแขนและขา ซึ่งผู้ใช้ต้องใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลทันที ก่อนการช็อคจากการเสียเลือดอย่างรุนแรง ซึ่งอัตราการเสียชีวิตในสนามรบส่วนใหญ่ มาจากสาเหตุหลักอันดับหนึ่ง คือการเสียเลือดอย่างรุนแรง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทหารทุกนาย ต้องมีอุปกรณ์ด้านการรักษาชีวิต ไม่ต่างไปจากอาวุธและการเตรียมซ้อมรบเพื่อปลิดชีพข้าศึก

สำหรับทหารแล้ว หน้าที่ในการดูแลตนเอง ในระหว่างถูกปะทะ เป็นทักษะที่ทุกคนควรทำได้เอง โดยเฉพาะในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งไม่สามารถหวังหรือรอ ให้ความช่วยเหลือมาถึงมือได้ ในวินาทีเสี่ยงตายนั้น หากไม่ถูกปะทะซ้ำ หรืออยู่ในแนวยิงของข้าศึก ก็เหลือเพียงอุปกรณ์กับความรู้ ที่จะใช้มันอย่างถูกต้องเท่านั้น จึงจะสามารถนำพาให้ตน รอดพ้นจากความเป็นความตายได้

ดังนั้นหากเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไร้คุณภาพ ก็เท่ากับปิดโอกาสรอดให้น้อยลง โดยไม่อาจเรียกคืนมาแก้ตัวได้ เราจึงควรรู้เท่าทัน ถึงโทษของมัน และเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีที่มาและมีการรับรอง จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ และพึงระวังว่า ของเลียนแบบอาจเปลี่ยนหน้าตาไป เพื่อลวงผู้ไม่รู้อีกมากให้หลงผิดได้

การพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์เชิงยุทธวิธี มาจากการศึกษาปัญหา ทบทวนบทเรียนจากการรบ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต ให้กับกำลังพลของทุกเหล่าทัพ ในทุกภารกิจ เพื่อให้การสูญเสียของเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ไม่สูญเปล่าครับ

สำหรับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่ไม่แน่ใจว่าสายรัดห้ามเลือดที่ท่านมี มีคุณภาพหรือไม่ โปรดนำมาแสดงกับเรา เพื่อรับส่วนลดสำหรับของจริง ที่มีคุณภาพได้ทุกวัน ที่ Safe House ครับ

Tags: ,

ผ้าอนามัย กับความเข้าใจผิดในการห้ามเลือด

บ่อยครั้งที่มีการพูดคุย ถึงเรื่องการปฐมพยาบาลห้ามเลือดภาคสนาม สิ่งที่เราจะได้ยินคนพูดถึงเสมอ คือ การใช้ผ้าอนามัยห้ามเลือดแทนผ้าก๊อซ ซึ่งเป็นการหาอุปกรณ์ใกล้ตัว ทดแทนอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ควรจะมี จนกลายเป็นความเข้าใจ ในการห้ามเลือดที่ผิดพลาด เนื่องจากใช้อุปกรณ์ผิดประเภท เพราะผ้าอนามัยและผ้าก๊อซนั้น ออกแบบมาเพื่อการใช้งานต่างกันโดยสิ้นเชิง

ผ้าก๊อซ (Gauze) ถูกออกแบบเพื่อหยุดการไหลของเลือด โดยมี 2 คุณสมบัติ คือ

  1. ก๊อซ มีใยผ้าประสานกัน เป็นพื้นผิวสัมผัสแบบโครงข่าย ทำหน้าที่ช่วยให้เกล็ดเลือด (Platelets) ได้ยึดเกาะ ทำให้เลือดแข็งตัว (Clot) ได้ง่าย
  2. ช่วยเพิ่มแรงกดไปที่บาดแผล ทำให้เลือดนั้นไหลช้าลง ช่วยให้เกล็ดเลือดแข็งตัว ขึ้นปิดบาดแผลได้เร็วขึ้น

ส่วนผ้าอนามัย (Sanitary Pad) นั้น มีคุณสมบัติแตกต่างจากผ้าก๊อซโดยสิ้นเชิง เพราะถูกออกแบบให้ดูดซับ เอาเลือดส่วนเกินออกจากร่างกาย ไปเก็บไว้ภายในแผ่นดูดซับ เพื่อให้ผู้สวมใส่รู้สึกแห้งสบาย อันเป็นสิ่งที่คุณสมบัติการห้ามเลือดไม่ต้องการ เนื่องจากผ้าอนามัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเดียว คือการทำให้ผิวสัมผัสด้านบนแห้ง ไม่เลอะเทอะ มันจึงไม่สามารถทำให้เกล็ดเลือด แข็งตัวกันบนบาดแผลได้ง่าย แต่กลับไปแข็งตัวอยู่ในแผ่นเจลดูดซับแทน ซึ่งหากเป็นบาดแผลเล็กน้อยจากเส้นเลือดฝอยก็ไม่เท่าไหร่

แต่ในกรณีเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด หรือแผลฉกรรจ์ หากใช้ผ้าอนามัยซับเลือดแล้ว ผู้บาดเจ็บจะยังคงเสียอยู่ และซ้ำร้ายกว่านั้น ยิ่งจะเป็นการเร่งให้เลือด ถูกดูดออกจากบาดแผลมากขึ้นเสียอีก

ดังนั้นผู้ใช้จึงควรทำความเข้าใจว่า อุปกรณ์การแพทย์ชนิดต่างๆนั้น ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ และควรใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะผ้าอนามัยนั้น เหมาะที่จะพกพาไว้ในกระเป๋าสุภาพสตรี และควรนำผ้าก็อซที่มีเส้นใยคุณภาพดี หรือผ้าก็อซผสมสารห้ามเลือด Combat Gauze มาใช้กับบาดแผลในสนามรบจะเหมาะสมกว่า

หากคุณสงสัยว่า ยังมีสิ่งใดที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากการรบ หรือบาดแผลจากอาวุธปืน Safe House เปิดรับสมัครผู้เข้ารับการอบรม การปฐมพยาบาลบาดแผลที่เกิดจากอาวุธปืน ให้กับผู้ที่สนใจ โดยวิทยากร Tactical Medic โดยเฉพาะ ซึ่งนอกจากความรู้ในชั้นเรียนแล้ว ผู้เข้าอบรมจะได้รับอุปกรณ์ปฐมพยาบาลภาคสนาม ที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับ ในหน่วยงานชั้นนำระดับโลกอีกด้วย ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้แล้ววันนี้ครับ

Tags: , ,