fbpx

Posts Tagged Safety

Safety Warning : รู้ทัน แก้ไข ปลอดภัยกว่า

ในฐานะที่ทีมงานของเรา เป็นผู้ให้การอบรมการกู้ภัยด้วยอากาศยาน (Helicopter Rescue) ให้กับพล. ร.9 และตรวจสอบความปลอดภัยของการแสดง ในวันกองทัพไทยที่ผ่านไปอย่างเรียบร้อยนั้น เราได้กลับมาทบทวนและวิเคราะห์ภาพการฝึกที่ได้บันทึกไว้ และพบปัญหาด้านความปลอดภัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อาจถูกมองข้ามไปในการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องเดียวกันนี้เอง จะเป็นข้อมูลให้กับหลายๆหน่วยงานในประเทศ และย้ำถึงความสำคัญของการเลือกใช้และปฏิบัติกับอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เราจึงนำบทเรียนจากการฝึก ซึ่งโชคดีที่ยังไม่เกิดความสูญเสีย มาฝากให้ทราบกันครับ

สถานการณ์จำลองที่ได้กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วยทีมโรยตัวด้วยเชือกแบบเร่งด่วน (Fast Rope) ในเฮลิคอปเตอร์ลำแรก และทีมโรยตัว (Rappelling) ในลำที่สอง ซึ่งทั้ง 2 ทีมจะปฏิบัติภารกิจโรยตัวและมีการยิงปะทะผู้ก่อการร้าย ทั้งในอาคารและบนภาคพื้น หลังจากการยิงปะทะสิ้นสุดลง เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำ จะทำการบินกลับมารับทหารผู้บาดเจ็บจากการปะทะจำนวน 2 นาย เพื่อนำส่งไปรักษายังหน่วยแพทย์ใกล้เคียงให้ทันท่วงทีต่อไป

ในสถานการณ์จำลองที่กำหนดนั้น ได้มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย ทีมโรยตัวด้วยเชือกแบบเร่งด่วน (Fast Rope) ในระหว่างแสดงการสาธิตอยู่นั้น เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติภารกิจจำลอง ซึ่งต้องทำงานภายใต้เวลาที่จำกัด เพื่อกระชับภารกิจให้จบอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของชุดที่จะทำการโรยตัวนั้น จะต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ใส่ถุงมือที่หลวมและหนา ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ประกอบอากาศยาน ในขณะที่สวมถุงมืออยู่ได้ รวมไปถึงการปิดล็อคคาราบิเนอร์อย่างถูกต้องปลอดภัยด้วยเช่นกัน

จากการที่ต้องปฏิบัติให้ทันเวลาการแสดงนั้น ส่งผลให้มีความเร่งรีบเกิดขึ้น ทำให้การใช้งานคาราบิเนอร์นั้น ไม่ได้ถูกปิดล็อคอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจทำให้เกลียวล็อคของคาราบิเนอร์ คลายและเปิดออกได้อย่างรวดเร็ว

จากการวิเคราะห์ด้วยภาพวีดิโอแล้ว เราพบสาเหตุของปัญหา กล่าวคือคาราบิเนอร์ทั้งหมดในการแสดงสาธิตการเคลื่อนย้ายด้วยอากาศยาน (Short-Haul) ครั้งนี้ ไม่ได้ถูกล็อค ซึ่งคาราบิเนอร์จะเป็นอุปกรณ์เกี่ยวโยงระหว่างเชือกและผู้ปฏิบัติเพียงชิ้นเดียว ที่เจ้าหน้าที่จะต้องฝากชีวิตไว้ขณะที่ห้อยตัวอยู่ใต้เฮลิคอปเตอร์ ที่ความสูงกว่า 150 เมตร เหนือพื้นดิน ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับคาราบิเนอร์แล้ว เจ้าหน้าที่ท่านนั้นอาจจะตกลงมาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเลยทีเดียว

จากภาพที่เราบันทึกไว้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยและผู้บาดเจ็บ ได้หมุนเกลียวล็อคคาราบิเนอร์ไว้ อย่างเร่งรีบและไม่สมบูรณ์ เนื่องจากใช้ถุงมือที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกลียวไม่ได้ถูกหมุนล็อคจนสุด ประกอบกับแรงสั่นสะเทือนของเฮลิคอปเตอร์ อาจจะทำให้เกลียวล็อคคลายออกได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

ข้อแนะนำ :

การเลือกใช้ถุงมือที่เหมาะสมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญในแต่ละปฏิบัติการณ์ เพื่อให้สามารถใช้งานมือของเราได้อย่างปกติแม้ในขณะสวมถุงมือ ซึ่งถุงมือหนังแบบหนาและหลวมนั้น อาจจะมีราคาถูก แต่จำเป็นต้องแลกด้วยความเสี่ยงถึงชีวิตหรือไม่ เพราะผู้สวมใส่จะไม่สามารถใช้มือหรือนิ้ว สำหรับทำงานทั่วไปได้อย่างถนัดอย่างแน่นอน และส่งผลไปถึงความอันตรายนานับประการที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัญหาเรื่องความปลอดภัยนั้น อาจมีสาเหตุโดยตรงมาจากการเลือกใช้ถุงมือที่ไม่เหมาะสม

นอกเหนือจากนี้ แนะนำให้มีการใช้คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ (Auto-Locking) ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานกับอากาศยาน ที่มีปัจจัยเรื่องแรงสั่นสะเทือน แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้งานคาราบิเนอร์แบบเกลียวล็อค ท่านต้องแน่ใจและมั่นใจได้ว่า เกลียวล็อคนั้นได้ถูกหมุนล็อคจนสุดแล้วเท่านั้นก่อนการปฏิบัติ

สนใจสอบถามข้อมูล จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้ที่ Safe House ครับ

Tags: , , , , , , ,

Carabiners คาราบิเนอร์ คืออะไร สำคัญอย่างไร

NFPA-G Screw Lock, NFPA-G Auto Lock, NFPA-L Manual Lock, Non-Locking, and HMS Carabiner

คาราบิเนอร์ Carabiners หรือ Karabiner คือ ห่วงเกี่ยวนิรภัย ที่ใช้ประกอบการโรยตัว หรือใช้งานกับเชือกและอุปกรณ์อื่นๆ สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยง, ยกสิ่งของ, ลากรถ, ใช้เกี่ยวหรือดึงอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร ผมได้รวบรวมข้อมูลมาแบ่งปันกันครับ

คาราบิเนอร์ Carabiners เป็นห่วงเกี่ยวที่มีส่วนของโครงและก้านเปิด ใช้ในการรับน้ำหนักของวัตถุหรือบุคคล โดยยึดโยงน้ำหนักจาก 2 จุดเข้าด้วยกัน ซึ่งคาราบิเนอร์ต้องมีความแข็งแรงมากพอ ที่จะรับนำหนักนั้นๆเอาไว้ และหลายครั้งคาราบิเนอร์ก็มีบทบาท ในการใช้รับน้ำหนักบุคคล ในการกู้ภัย ซึ่งต้องเอาชีวิตคนไปแขวนอยู่บนเชือกและอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น ที่ต้องเลือกใช้งานอย่างเข้าใจ เพราะหากเลือกคาราบิเนอร์ผิดประเภท เจ้าห่วงเล็กๆก็อาจทำให้เกิดอันตรายใหญ่หลวงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ถูกแยกออกตามประเภทการใช้งาน คาราบิเนอร์ มี 4 ประเภทการใช้งานหลักๆ

1. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานเชิงกีฬา

2. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้รับน้ำหนักบุคคลคนเดียว งานบนที่สูง หรือการป้องกันตก

3. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่องานกู้ภัย ที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าบุคคลคนเดียว

4. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อประดับตกแต่ง หรือไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึก

How much do you trust your carabiners?

คาราบิเนอร์ที่ใช้เกี่ยวพวงกุญแจ หรือประดับตกแต่ง มักจะมีราคาไม่สูง เช่น ใช้ทำเป็นพวงกุญแจ คล้องถุงมือ, คล้องหูกางเกง ฯ วัตถุประสงค์เพื่อ รับน้ำหนักอุปกรณ์เล็กๆ และไม่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก ซึ่งไม่ควรจะนำไปใช้ในการป้องกันการตกจากที่สูง หรือใช้ในงานกู้ภัย เพราะอาจเกิดอันตรายได้ คาราบิเนอร์ประเภทนี้ที่รู้จักกันดี คือ Grimlock , Taclink ฯ

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานเชิงกีฬา เป็นคาราบิเนอร์ที่ราคาถูกที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ที่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก และมักจะออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบุคคลเพียงคนเดียว หลักในการออกแบบคาราบิเนอร์เชิงกีฬา คือ ต้องมีขนาดกะทัดรัดและเบา เช่น คาราบิเนอร์สำหรับปีนเขา, ไต่หน้าผา

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานป้องกันตก ถูกออกแบบให้ทนทาน ส่วนมากจะผลิตจากเหล็ก แต่รูปทรงอาจจะดูไม่ทันสมัย และทดสอบการรับน้ำหนักบุคคลคนเดียว เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง มาตรฐานความปลอดภัยกำหนดให้ทนแรงดึง ได้ประมาณ 22 Kn.

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ัภัย เป็นคาราบิเนอร์ที่ทนต่อการรับน้ำหนักมากที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ซึ่งมาตรฐาน NFPA 1983(2006) กำหนดให้รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 27 Kn.

ความทนทานของคาราบิเนอร์ ใช้หน่วยวัดเป็นกิโลนิวตัน KiloNewtons (kN) 1 กิโลนิวตัน เท่ากับ 101.97 กิโลกรัมของแรง หรือ Kilogram force วิธีง่ายๆในการจำ คือ 1 กิโลนิวตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักคนหนึ่งคน พร้อมด้วยอุปกรณ์ (อุปกรณ์ประจำตัว, อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย) น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ระบุว่า รับน้ำหนักหรือทนแรงดึงได้ 30 kN อาจดูเหมือนทนทานมาก แต่ตัวเลขอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดให้ไม่ควรใช้คาราบิเนอร์ รับน้ำหนักเต็มอัตราตามที่ระบุไว้ แต่ควรใช้ปัจจัยด้านความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า safety factor ซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุด ที่คาราบิเนอร์สามารถรับได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับงานกู้ภัยทั่วไปจะใช้อัตรา 10:1 ส่วนงานดับเพลิงกู้ภัยจะใช้อัตรา 15:1 เนื่องจากน้ำหนักอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีมาก ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ทนแรงดึงได้ 30 kN ควรจะใช้รับน้ำหนัก สูงสุดที่ 3 kN หรือประมาณ 300 กิโลกรัม ยิ่งเมื่อต้องใช้รอกทดแรง หรือน้ำหนักที่เคลื่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง การรับน้ำหนักคนเพียงคนเดียว สามารถทำให้คาราบิเนอร์หักได้ิอย่างง่ายดาย จากแรงดึงที่เกิดขึ้นในการทดแรงนั้นเอง

ในยุโรป คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้รับน้ำหนักบุคคล จะต้องผ่านมาตรฐาน EN 362:2004 “ห่วงเกี่ยวนิรภัย สำหรับอุปกรณ์ป้องกันภัยประจำบุคคล ในการป้องกันการตกจากที่สูง ” มาตรฐานนี้ระบุว่า คาราบิเนอร์จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุด (minimum breaking strength) ที่ 20kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 15kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของคาราบิเนอร์

ในอเมริกา ใช้มาตรฐานสมาคมดับเพลิงกู้ภัย NFPA 1983 (2006 ed) กำหนดความปลอดภัยของ “เชือกที่ใช้ในการกู้ภัย และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง” ครอบคลุมคาราบิเนอร์สำหรับ ‘light-use’ เช่น คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อรับน้ำหนักบุคคล โดย NFPA 1983:06 กำหนดให้คาราบิเนอร์ ‘Light-Use’ จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดอยู่ที่ 27kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 7kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด

NFPA 1983:06 ระบุให้แยกประเภทคาราบิเนอร์ เพื่อใช้รับน้ำหนักงานกู้ภัยโดยเฉพาะ เป็นแบบ ‘General-Use’ ซึ่งคาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ภัยจะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดที่ 40kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 11kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 11kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด โดยที่ NFPA lowered open-gate strength requirements for carabiners are because unlike EN362, NFPA กำหนดให้คาราบิเนอร์มี to have a locking gate mechanism ซึ่งมีมาตรฐานอื่นๆในการกำหนดความปลอดภัย แต่ มาตรฐาน EN362 และ NFPA 1983 เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ และกำหนดให้แสดงอัตราการรับน้ำหนัก ลงบนคาราบิเนอร์ทุกตัว

ข้อกำหนดตามมาตรฐานมีอีกมากมาย แต่หากคาราบิเนอร์มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ในด้านรูปทรงและลักษณะภายนอก ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ จุดมุ่งหมายในการใช้งานเป็นตัวกำหนดรูปทรง วัสดุ และคุณสมบัติของคาราบิเนอร์ วัสดุที่ใช้ทำคาราบิเนอร์โดยส่วนใหญ่ ทำจากอลูมิเนียม หรือเหล็ก แต่คาราบิเนอร์รุ่นใหม่ทำจากวัสดุพิเศษ เช่น ไทเทเนียม

สำหรับ CMC Rescue เป็นผู้ผลิตคาราบิเนอร์เพื่องานกู้ภัย และมีคาราบิเนอร์ซึ่งทำจากแสตนเลสทุกชิ้นส่วน แม้แต่สปริงด้านใน รูปทรงของคาราบิเนอร์ ส่วนมากมักเป็นรูปตัว D เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ช่วยเอื้อให้การรับน้ำหนัก อยู่ในจุดที่แข็งแรงที่สุดของคาราบิเนอร์ได้ง่าย Major Axis และจุดรับน้ำหนักจะอยู่ห่างจากก้านเปิด ช่วยลดอันตรายจากการรับน้ำหนักในจุดที่อ่อนแอที่สุด Minor Axis ลงได้

คาราบิเนอร์ในยุคแรกเริ่ม จะมีก้านเปิดเป็นแบบไม่มีตัวล็อค หรือแบบหมุนล็อคเป็นส่วนมาก

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในเชิงกีฬา บางครั้งใช้คาราบิเนอร์ที่ไม่มีระบบล็อค หรือใ้ช้ก้านเปิดแบบลวด เพื่อช่วยลดน้ำหนักอุปกรณ์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบใหม่มักใช้ก้านเปิดแบบล็อคอัตโนมัติ Auto-locking หรือบิดหมุนล็อคเข้าสลัก manual-locking คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ จะล็อคทันทีที่ก้านเปิดถูกปิด ซึ่งต้องใช้การบิดและกดเพื่อเปิด 2 ขั้นตอน หรือดันลง แล้วจึงหมุน และกดเพื่อเปิด 3 ขั้นตอน

คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ ช่วยให้เปิดและปิดได้สะดวกรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะลืมล็อคคาราบิเนอร์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบบิดหมุนล็อค Manual-locking เป็นคาราบิเนอร์ดีไซน์ใหม่ล่าสุด ซึ่งผู้ใช้ต้องบิดเพื่อให้ก้านเปิดเข้าล็อค แทนที่จะใช้การหมุนเกลียวล็อคซึ่งจะล็อคได้ช้ากว่า

นอกเหนือจากการใช้งานที่ง่ายขึ้น คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ และบิดหมุนล็อคเข้าสลัก ยังเป็นคาราบิเนอร์ที่เหมาะกับงาน ที่มีแรงสั่นสะเทือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้คาราบิเนอร์แบบเกลียวหมุน คลายเกลียวออกได้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากต้องใช้งานบนอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์

ยังมีเรื่องราวและข้อสังเกตุเกี่ยวกับคาราบิเนอร์อีกมากมาย เอาไว้่ผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ

Tags: , , , , ,

Arctic Bandana ผ้าพันคอเจลเย็น

ช่วงนี้อุณหภูมิในบ้านเมืองเรา ดูจะร้อนเป็นพิเศษ อากาศร้อนๆแบบนี้ ปัญหาหลักๆ ที่มีผลต่อร่างกาย คือเรื่องของการสูญเสียน้ำ ทำให้หลายๆ คนเหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ จนเกิดอาการไม่สบายต่างๆ ทั้งกายและใจได้ง่ายขึ้น อากาศยิ่งร้อน ใจก็เลยร้อนตามไปด้วย ควรดูแลรักษาตัวเองให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ ซึ่งก็ทำได้ไม่ยากครับ พยายามดื่มน้ำให้มากๆ อย่าตากแดดแรงเป็นเวลานาน

แต่ถ้าหลีกเลี่ยงที่จะไม่เจอแดดไม่ได้ หรือต้องทำงานกลางอากาศร้อนอบอ้าว นอกจากดื่มน้ำแล้ว ผมมีตัวช่วยคลายความร้อนมาแนะนำกันครับ

Arctic Bandana (ผ้าพันคอเจลเย็น) เป็นผ้าพันคอที่มีประสิทธิภาพในการช่วยกักเก็บอุณภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น เรียกได้ว่าใช้ได้ทั้งประคบร้อนและประคบเย็น ทูอินวันเลยครับ ร้อนๆแบบนี้คลายร้อนดีนักเชียว ภายในผ้าบรรจุด้วยเม็ดคริสตัลเล็กๆที่สามารถเก็บอุณหภูมิได้นาน

วิธีใช้ก็ง่ายดาย เพียงนำผ้าแช่ลงในน้ำเย็นประมาณ 25 นาที หรือจุ่มในแก้วน้ำแข็ง เม็ดคริสตัลจะดูดซับน้ำและความเย็นกลายสภาพเป็นเจล ขยายตัวฟูขึ้นจนเต็มผ้า เมื่อนำมาสวมใส่ที่คอจะช่วยคลายความร้อน ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น และเจลจะคงสภาพได้นาน 18-24 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศแวดล้อม) และยังแช่ซ้ำได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน หากต้องการให้เย็นเป็นพิเศษ เพียงแค่แช่น้ำและนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น หรือหากต้องการประคบร้อนก็สามารถแช่น้ำร้อน หรือนำลงแช่ในภาชนะ เข้าเครื่องไมโครเวฟ ตั้งเวลาไม่เกิน 30 วินาที ก็จะได้ผ้าเจลร้อนเพื่อใช้ประคบหรือให้ความอบอุ่นได้ตามต้องการ

จุ่มลงในน้ำเย็น

หลังเลิกใช้ เจลจะค่อยๆแห้งและมีขนาดเล็กลง กลับไปเป็นเม็ดคริสตัลได้เองภายใน 3-4 วัน หรือถ้าจะให้เร็วกว่านั้นก็นำไปตากแดดครับ วิธีการทำความสะอาดก็ไม่ยุ่งยาก  แค่รอให้เจลยุบตัวหรือแห้ง แล้วซักด้วยมือในน้ำสบู่ให้สะอาด แล้วตากให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกกว่า 1,000 ครั้งเลยทีเดียว

Artic Bandana มีให้เลือกหลายสี หลายลาย เนื้อผ้าไม่มีสารระคายเคือง ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ความยาว 1 เส้นอยู่ที่ 38 นิ้ว

ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าประชาชนทั่วไปหรือตำรวจทหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ออกกำลังกาย หรืองานภาคสนามที่ต้องเผชิญกับความร้อน เป็นสินค้าที่ขายดีจากอเมริกา แนะนำให้ลองใช้ในเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ผมลองใช้ด้วยตัวเอง ใส่ขับรถ ลงเดินตรวจงาน แวะไปจ่ายตลาด รู้สึกเย็นสบายช่วยคลายร้อนได้เยอะเลยทีเดียวครับ ใครสนใจแวะไป Safehouse นะครับ

เย็นสบายคลายร้อน

เจลพองตัวเต็มที่

Tags: ,

พิษภัยจากเสียงในพื้นที่รบ ต่อการสั่งการ

การสูญเสียการได้ยินจากเสียงปืน เป็นปัญหาความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะปัญหาจากการได้ยิน ที่เกิดจากเสียงปืนดังฉับพลัน กระทบกระเทือนประสาทการรับเสียง จากปัญหานี้สามารถพัฒนาไปเป็นอาการของโรคเสียงดังในหู(Tinnitus) เหมือนมีเสียงไมโครโฟนหวีดดังในศีรษะตลอดเวลา และจะยิ่งดังมากขึ้น เมื่อมีเสียงดังจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ยิ่งนานเข้าอาจถึงกับสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรเลยทีเดียว

ทหารพราน ลาดตระเวนใน จ.ยะลา

ในทางทหารแล้ว ผลเสียจากเสียงดังที่ได้ยิน ส่งผลกระทบไปถึงความปลอดภัยที่สำคัญอื่นๆ ในการจัดกำลังสำหรับหน่วยปกติ หนึ่งหมวด มักจะมีเจ้าหน้าที่ 4-6 นาย ภายใต้การสั่งการของหัวหน้าชุด

บทเรียนของกองทัพสหรัฐฯ จากสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่า เมื่อทีมมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้นำเพียงคนเดียวไม่สามารถสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเหตุผลนี้เองส่งผลต่อการจัดกำลังของชุดปฏิบัติการเล็ก ให้มีจำนวนเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่นาย ในการฝึกหรือลาดตระเวน เพื่อให้ง่ายต่อการออกคำสั่งและควบคุมทหารกลุ่มเล็ก

US Navy SEALs ใช้ที่อุดหู Ear Plugs ลดเสียง

แต่ปัญหาจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดการสู้รบจริงปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการสู้รบของทหาร คือ การกระจายกำลังกันออกไป ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการขยายขนาด และประสิทธิผลในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น แต่การกระจายกำลังจะสร้างปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมสั่งการ ยิ่งไปกว่านั้น การสูญเสียการได้ยินระยะสั้นจากเสียงปืนของเจ้าหน้าที่แต่ละนาย ก็ยิ่งทำให้การรับคำสั่ง ยิ่งกลายเป็นเรื่องยากลำบาก

ทำให้ผู้บังคับบัญชาต้องเลือก ระหว่างอำนาจการสั่งการ และความปลอดภัยของทหารทุกคน ซึ่งในสภาวการณ์รบ คุณต้องใช้ทั้งประสาทหูและตาเพื่อรักษาชีวิต แต่หากประสาทสัมผัสด้านการรับฟังเกิดปัญหาเสียแล้ว สัมผัสที่ยังเหลือและพึ่งพาได้คือ การใช้ตามองเพียงอย่างเดียว หากการรบยืดเยื้อออกไปจนค่ำ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

USAF Pararescue ใช้ Peltor Comtac ป้องกันเสียง

เมื่อการยิงต่อสู้หยุดลง สิ่งต่อไปที่ต้องระวัง คือ ข้าศึกที่กำลังหลบหนี หรือการกลับมาสอดแนมตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยคุณ ในขณะที่หูของคุณซึ่งรับฟังเสียงกระสุน มาตลอดการปะทะจะลดประสิทธิภาพลง เกิดข้อจำกัดเพียงการใช้สายตา สอดส่อง, สังเกตุ, มองหา และควบคุมพื้นที่ เพื่อระวังความปลอดภัยของตนเท่านั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสั่งการของหัวหน้าชุด และการควบคุมการทำงานของหน่วย

ในสภาพแวดล้อมแบบป่าภูเขา จะเกิดอุปสรรคจากสภาพภูมิประเทศ สำหรับการรบในเมือง ที่มีทั้งตึกสูงและเหลี่ยมมุมของอาคาร ทัศนวิสัยในการมองเห็น ก็ยิ่งถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น ถ้าต้องรบในเวลากลางคืนด้วยแล้ว การควบคุมสั่งการ ก็ยิ่งจะทำได้ยาก หากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ความเสี่ยงต่ออันตรายก็ยิ่งมีสูงขึ้น

US NAVY SEALS ใช้ Earplugs ช่วยลดเสียง

การแก้ปัญหาทางหนึ่ง คือการหาเครื่องช่วยและป้องกันการได้ยิน เช่น ที่อุดหูลดเสียง รุ่น Combat Arms Earplugs สามารถเลือกสวมได้สองทาง จะช่วยให้ผู้สวมใส่ยังคงได้ยินเสียงสนทนา ในขณะที่ช่วยตัดเสียงสูงและดังกระทันหันของเสียงปืนและระเบิดได้ดีกว่าที่อุดหูทั่วไป ส่วนชุดหูฟังที่มีคุรสมบัติมากขึ้น เช่น Peltor Comtac XS ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยขยายและลดเสียง จากสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ใช้งาน ช่วยขยายเสียงรอบข้างได้ชัดเจนกว่าปกติ และลดเสียงที่ดังอย่างกระทันหัน เพื่อปลอดภัยต่อการได้ยิน Peltor Comtac XS ยังสามารถใช้งานร่วมกับชุดวิทยุสื่อสาร สามารถนำวิทยุสื่อสารต่อตรงเข้ากับชุดหูฟังได้ เพื่อการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการสั่งการให้ดียิ่งขึ้นในระหว่างการรบ Peltor Comtac XS ออกแบบให้สามารถใส่ได้กระชับกับหมวกกันกระสุน แตกต่างจากชุดหูฟังที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

พิษภัยจากเสียง ป้องกันได้ด้วยอุปกรณ์ป้องกัน การป้องกันเสียง มีความสำคัญไม่เฉพาะต่อสุขภาพของกำลังพลเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการจบภารกิจให้สำเร็จลุล่วง และช่วยเพิ่มความปลอดภัย เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยอื่นๆ ที่จะส่งผลดีก็ต่อเมื่อ คุณมีอุปกรณ์ดังกล่าว และผู้ใช้เข้าใจการใช้งานอย่างถูกต้อง ช่วยให้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อุปกรณ์ป้องกันเสียงของ Peltor รวมถึง Combat Arms Earplugs และ Peltor Comtac มีจำหน่ายแล้วที่ Safehouse

Tags: ,

Water Purification – ทำน้ำดื่ม ให้ปลอดภัย

การทำให้น้ำดื่มสะอาดถูกสุขลักษณะ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกาย มีัความสมดุลและแข็งแรง ในน้ำทั่วไปมีสิ่งมีชีวิตที่อาจนำโรคภัยมาสู่เรา ซึ่งสิ่งมีชีวิต 3 อย่างที่มักมากับน้ำ ที่เราต้องระวังเป็นพิเศษ คือ 1.โปรโตซัว 2.แบคทีเรีย 3.ไวรัส วิธีทำให้น้ำสะอาดปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้ ทำได้หลายวิธี เราจะมาพูดถึงวิธีที่น่าจะเป็นประโยชน์และทำได้ง่าย

วิธีที่เห็นได้บ่อยที่สุดของการทำให้น้ำสะอาด ได้แก่ การต้มน้ำ คุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่าการต้มน้ำให้สามารถดื่มได้ ต้องต้มนานราวๆ 5-10 นาที ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไป เพราะโดยทฤษฎีแล้ว น้ำจะเดือดที่อุณภูมิ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งเราทุกคนทราบดี แต่ในความเป็นจริง หากคุณเพียงต้องการกำจัดโปรโตซัวในน้ำ เมื่ออุณภูมิน้ำขึ้นสูงถึง 50 องศาเซลเซียส โปรโตซัวเกือบทุกประเภทก็จะตาย หากต้องการกำจัดให้มั่นใจ โดยยังคงต้มน้ำต่อไปให้น้ำมีอุณภูมิขึ้นถึง 100 องศาเซลเซียส ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 3-4 นาที เมื่อคุณเริ่มเห็นน้ำเดือด คุณก็สามารถปิดไฟและรอให้น้ำเย็น น้ำก็จะสะอาดพร้อมดื่ม และปราศจากโปรโตซัวแล้ว ไม่ต้องปล่อยให้น้ำเดือด พลุ่งพล่านเป็นเวลานาน เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น

คลอรีน ก็เป็นอีกวิธีที่พบบ่อยในการทำความสะอาดน้ำ วีธีการคือในกรณีที่มีสารอินทรีย์ในน้ำ สารคลอรีนจะทำหน้าที่ เหมือนเกราะครอบสิ่งมีชีวิตนั้นไว้ ทำให้มันไม่มีฤทธิ์ต่อผู้ที่สัมผัส หรือดื่มมันเข้าไป แต่จุดอ่อนของคลอรีน คือ ไม่สามารถกำจัดสารหรือสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ในน้ำได้ เช่น เมล็ดของพืช, สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ฯลฯ คลอรีนจึงไม่นิยมใช้ในกระบวนการทำให้น้ำสะอาด สำหรับงานภาคสนาม

ไอโอดีน เราจะพบเห็นได้บ่อย และเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าคลอรีน ไอโอดีนจะทำให้น้ำสะอาด แต่น่าเสียดายที่ไอโอดีนไม่สามารถฆ่าโปรโตซัว Cryptosporidium ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในประเทศไทย (Cryptosporidium จะไม่ออกฤทธิ์ทันทีทันใดต่อร่างกาย แต่จะออกฤทธิ์ประมาณ 4 วัน หลังจากที่ดื่มเข้าไป ส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง และออกฤทธิ์อยู่นาน 10 วัน) ไอโอดีนเหมาะที่จะใช้กับน้ำที่มีลักษณะใส ถ้าน้ำที่ขุ่นและมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ในน้ำ ต้องกรองด้วยผ้าก่อน (ในกรณีที่อยู่ในป่า สามารถใช้เสื้อผ้ากรองได้) แล้วจึงใส่ไอโอดีนในอัตราส่วน 4 หยดต่อน้ำหนึ่งลิตร และสามารถเพิ่มจำนวนได้ถึง 8 หยด ในกรณีที่น้ำขุ่นหรือค่อนข้างสกปรก และทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีก่อนที่จะดื่ม แต่ไอโอดีนมีกลิ่นฉุน ปัญหาเรื่องกลิ่นของไอโอดีนในน้ำ แก้ได้โดยคุณสามารถใส่วิตามิน C เม็ด ลงในน้ำหลังจากหยดไอโอดีนแล้ว 30 นาที เพื่อช่วยกลบรสชาติของไอโอดีนลง (ข้อควรระวัง! อย่าใส่วิตามิน C ลงในน้ำก่อน 30 นาที เพราะอาจทำให้ไอโอดีนออกฤทธิ์ไม่เต็มที่) การใช้ไอโอดีน เป็นการทำให้น้ำสะอาดปลอดภัย แต่ก็มีข้อจำกัด คือ คนที่เป็นโรคไทรอยด์ หรือคนที่แพ้สารไอโอดีน และหญิงมีครรภ์ ไม่ควรดื่มน้ำที่ใส่ไอโอดีน และที่สำคัญที่สุด คือ ไอโอดีนไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าโปรโตซัว Cryptosporidium ในน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง

สารที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคที่นิยมนำมาใช้ในการทำให้น้ำสะอาด คือ คลอรีนไดออกไซด์ สารนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ในการประปาของเมืองต่างๆ คลอรีนไดออกไซด์ จะทำหน้าที่ 2 อย่างคือ 1.เพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ และ 2. ฆ่าเชื้อโรคสิ่งสกปรกที่มากับน้ำ เช่น ไวรัส, แบคทีเรีย และโปรโตซัว รวมไปถึงโปรโตซัว Cryptosporidium จึงเป็นวิธีที่นิยมที่สุด สำหรับการทำน้ำให้สะอาดพร้อมดื่มโดยเฉพาะในงานภาคสนาม

คลอรีนไดออกไซด์ ที่ใช้กันมีหลากหลายรูปแบบและขนาด ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ แต่ที่นิยมใช้ในงานภาคสนามเป็นประเภท คลอรีนไดออกไซด์ชนิดเม็ด Aquamira ของ McNett อัตราส่วนในการใช้งาน ได้แก่ 1 เม็ด ต่อน้ำ 1 ลิตร ในกรณีที่ใช้กับน้ำที่มีลักษณะใส อุณภูมิของน้ำอยู่ประมาณ 20 องศาเซลเซียส เม็ด water purifier ของ Aquamira จะสามารถฆ่าแบคทีเรียและไวรัสทั้งหมดที่มากับน้ำ ภายใน 15 นาที และจะฆ่าโปรโตซัว รวมทั้งโปรโตซัว Cryptosporidium ได้ภายใน 30 นาที ซึ่งเหมาะจะพกพา และเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็น ของชุดอุปกรณ์ยังชีพ เมื่อคุณต้องทำงานในที่ห่างไกล หรือไม่มั่นใจในความสะอาดของน้ำดื่ม

ส่วนในกรณีของน้ำที่มีลักษณะค่อนข้างขุ่น และอุณภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ก็ต้องใช้เวลานานขึ้นก่อนที่จะสามารถดื่มได้ ในกรณีที่เป็นน้ำสกปรกและเย็นจัด อาจต้องใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมง เพื่อให้ออกฤทธิ์เต้มที่ อุปกรณ์ที่ใช้ทำให้น้ำสะอาดพร้อมดื่ม ที่นิยมอีกประเภทหนึ่งได้แก่ ชุดกรองน้ำดื่มชนิดพกพา โดยส่วนมากวิธีการทำงาน คือ ใช้ตัวกรอง กรองสิ่งสกปรกและโปรโตซัวที่มีขนาดใหญ่ โดยการกรองร่วมกับเคมีบางชนิด ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่มีขนาดเล็ก ในส่วนของอุปกรณ์กรองน้ำนี้ เราจะพูดถึงในบทความครั้งหน้า คอยติดตามอ่านนะครับ

เกร็ดความรู้ของแถมสำหรับการดื่มน้ำให้ปลอดภัย น้ำที่ใส่ไว้ในกระติก, ถุงน้ำ หรือขวดน้ำ อาจจะดูว่าสะอาดปลอดภัย และผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดีแล้ว แต่อย่ามองข้ามน้ำจำนวนไม่กี่หยด ที่เกาะอยู่ภายในฝาขวดหรือฝากระติกน้ำ ซึ่งน้ำจำนวนไม่กี่หยดนี้ ก็สามารถทำให้คุณ หมดสนุกกับการเดินทาง เพราะเกิดอาการท้องเสียเฉียบผลันขึ้นได้ วิธีการแก้ไข คือ คว่ำกระติกหรือขวดลง แล้วค่อยๆเปิดฝาขวดออกทีละนิด เพื่อไล่น้ำสกปรกออก เมื่อเสร็จแล้ว ก็สามารถดื่มน้ำได้อย่างสบายใจแล้วครับ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อตัวคุณเองครับ ใครสนใจ Aquamira ของ McNett และชุดกรองน้ำชนิดพกพา สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่ Safe House ครับ

Tags: , , ,

Combat Arms Earplugs – ที่อุดหู 2 ประสิทธิภาพ

ที่อุดหู เป็นอุปกรณ์ลดเสียง ซึ่งทำงานโดยลดเสียงลงในระดับที่ หูคนเราสามารถได้ยินเสียงแวดล้อม โดยไม่กระทบกระเทือนต่อประสาทรับฟัง ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1.เสียงที่ดังอย่างต่อเนื่อง (Constant noise) เช่น เสียงจากยานพาหนะ, หรือเสียงจากเครื่องยนต์อากาศยาน ฯ ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดังเช่นนี้ ที่อุดหูมีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากช่วยในการลดเสียงแล้ว ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร เนื่องจากในสภาพเสียงดัง เราจะต้องเพิ่มเสียงในการพูด ให้ดังกว่าเสียงแวดล้อม ที่อุดหูซึ่งช่วยตัดเสียงรบกวน จึงช่วยให้ได้ยินสิ่งที่พูดได้ดียิ่งขึ้น 2.เสียงที่ดังขึ้นทันทีทันใด (Impulse noise) เช่น เสียงจากการยิงปืน หรือเสียงระเบิด ฯ เป็นเสียงที่แหลมและดังอยู่ชั่วขณะ ซึ่งสามารถทำลายการได้ยินได้ในทันที หากเสียงดังกล่าวมีความดังเกินขีดความปลอดภัย

ในการจะใส่หรือถอดที่อุดหูนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมในขณะนั้นๆว่า คุณอยู่ในสภาพเสียงแวดล้อมแบบไหน ในสภาพการณ์รบ หรือในระหว่างจราจล แม้เสียงอาจเงียบลงชั่วขณะ คุณต้องการถอดอุปกรณ์ลดเสียงออก แต่แล้วก็มีเสียงระเบิดเกิดขึ้นทันทีทันใด ซึ่งอาจทำให้แก้วหูคุณถูกทำลายอย่างถาวรทันที แก้วหูเป็นเพียงเยื่อบางๆ ที่ไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทน ดังนั้นการป้องกันและถนอมการได้ยินไปนานๆ เป็นสิ่งสำคัญและไม่ควรมองข้าม หากคุณยังคิดเพียงว่า อุปกรณ์ลดเสียงจะปิดกั้นการสื่อสาร, สร้างความรำคาญ หรือเป็นอุปกรณ์ฟุ่มเฟือย ลองคิดใหม่อีกครั้ง

เสียงที่ดังเกิน 85 db. (เดซิเบล) สามารถทำลายการได้ยินอย่างถาวร US OSHA (หน่วยงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา) มีมาตรฐานกำหนดความปลอดภัย ในการใช้งานอุปกรณ์ลดเสียง ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความดังของเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงที่ดัง 90 db.(จากการจราจรคับคั่ง) 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร ไม่จำเป็นต้องใส่ที่อุดหู , เสียงที่ดัง 100 db (เทียบได้กับเสียงรถแทรกเตอร์) หากเกินกว่า 2 ชม. จำเป็นต้องใส่ที่อุดหู, เสียงที่ดัง 115 db. เป็นระดับเสียงที่ดังที่สุด หากดังกว่านี้ แม้ว่าจะได้ยินเสียงระยะสั้น จำเป็นต้องใส่ที่อุดหูทุกกรณี ซึ่งเสียงปืนทั่วไปโดยเฉลี่ยแล้ว ดังประมาณ 160 db. ดังนั้นผู้ยิงปืน หรือผู้อยู่แวดล้อมการยิงปืน ควรจะใส่อุปกรณ์ลดเสียง

อันตรายของเสียงต่อการได้ยิน คือ เมื่อหูของคุณเคยเกิดปัญหาแล้ว แม้การได้ยินที่เสียไปเพียง 1% จะไม่สามารถกลับมาปกติได้ดังเดิม ซึ่งคุณอาจจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกตินั้นในปัจจุบัน เมื่ออายุมากขึ้น แก้วหูลดสมรรถภาพลง การได้ยินของคุณจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด หากคุณยังไม่ช่วยป้องกันแต่เนิ่นๆ คุณจะกลายเป็นคนแก่หูตึงในที่สุด ดังนั้นป้องกันความเสียหาย เพื่อตัวท่านเองในวันนี้

ที่อุดหู Combat Arms ถูกออกแบบมาเพื่อลดเสียง ทั้งแบบเสียงดังต่อเนื่อง contant noise และเสียงที่ดังขึ้นทันทีทันใด impulse noise โดยที่อุดหูฝั่งสีเขียวเข้ม ซึ่งไม่มีรูรับเสียง จะช่วยลดเสียงดังต่อเนื่องได้ 22db (ทดสอบตามมาตรฐาน ANSI S3.19-1974) จากเสียงของยานพาหนะ หรือเครื่องยนต์อากาศยาน ส่วนที่อุดหูฝั่งสีเหลือง ใช้หลักการฟิสิกส์ในการลดเสียงความถี่สูงที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยเสียงเดินทางผ่านรูเพื่อไปกระทบแก้วหู เสียงสูงจึงถูกลดทอนลงไป ซึ่งจะช่วยให้ได้ยินเสียงความถี่ปกติ หรือเสียงเบา เช่น เสียงพูด เสียงเดิน เสียงก้าวเท้าเข้ามาใกล้ โดยจะลดเสียงที่ดังฉับพลัน เช่น เสียงปืน เสียงระเบิด

เมื่อทราบคุณสมบัติแล้ว จึงควรสวมใส่ให้ถูกด้าน เพื่อช่วยลดเสียงดังจากสภาพแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อสวมอย่างนิ่มนวลในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป สังเกตุได้จากความรู้สึกแน่นกระชับพอดี ในขณะสวมใส่ให้ฟังเสียงพูดของตนเอง เมื่อมีเสียงที่ได้ยินเบาลง แสดงว่าใส่ได้ถูกต้อง

การทำความสะอาด ควรใช้น้ำและสบู่ล้างที่อุดหู และผึ่งลมให้แห้งก่อนเก็บใส่กล่อง ในขณะทำความสะอาด สังเกตุรูบริเวณด้านสีเหลือง ว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ หากมีสิ่งสกปรกติดหรืออุดรูดังกล่าว  ก็ควรจะเขี่ยหรือนำออก ก่อนการเก็บเพื่อใช้งานได้ทันที มาพร้อมกับสายคล้องโลหะสีดำ และกล่องเก็บสีเหลืองอมเขียว ล็อคแน่นสวยงาม

Combat Arms Earplugs มีวางจำหน่ายแล้วที่ Safehouse

ข้อดีของ Combat Arms Earplugs :

  • เลือกใช้งานได้ 2 แบบ
  • ประหยัดกว่าชนิดใช้แล้วทิ้ง
  • สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่
  • น้ำหนักเบา สะดวกพกพา ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
  • คงรูป ไม่ต้องปั้นก่อนใช้งาน เหมือนที่อุดหูโฟม
  • มีกล่ิองเก็บและสายคล้อง ช่วยรักษาความสะอาด และจัดเก็บเป็นสัดส่วน

Tags: , , ,