fbpx

Posts Tagged Carabiner

Demo gear : On Sale สินค้าตัวอย่างลดราคา

Safe House นำอุปกรณ์เชือกโรยตัว และฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานร่วมกับเชือก เช่น Carabiner แบบต่างๆ, รอก, ห่วงโรยตัวรูปเลข 8 หรือ figure 8, Anchor plate แผ่นกระจายน้ำหนัก ฯ มาลดราคาแบบหมดแล้วหมดเลย เชือกโรยตัวจะเป็นของใหม่ ซึ่งมีขนาดความยาวต่างๆกันครับ เช่น  25 ฟุต ไปจนถึง 60 ฟุต และส่วน Rope Hardware จะเป็นสินค้าที่ใช้สาธิตและโชว์ บางตัวเป็นต้นแบบผลิตรุ่นแรกๆ ยังไม่เคยผ่านการใช้งาน รับรองคุณภาพว่าไม่ชำรุดอย่างใด และยังใช้งานได้อีกยาวครับ สำหรับผู้ที่ต้องการอุปกรณ์แบบไม่สนใจรอยถลอกเล็กๆน้อยๆ สินค้ามีให้เลือกแบบใครมาก่อนได้ก่อน สำหรับผู้ที่มารับสินค้าและชำระเงินสดเท่านั้นครับ

Tags: , , , , , ,

Safety Warning : รู้ทัน แก้ไข ปลอดภัยกว่า

ในฐานะที่ทีมงานของเรา เป็นผู้ให้การอบรมการกู้ภัยด้วยอากาศยาน (Helicopter Rescue) ให้กับพล. ร.9 และตรวจสอบความปลอดภัยของการแสดง ในวันกองทัพไทยที่ผ่านไปอย่างเรียบร้อยนั้น เราได้กลับมาทบทวนและวิเคราะห์ภาพการฝึกที่ได้บันทึกไว้ และพบปัญหาด้านความปลอดภัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อาจถูกมองข้ามไปในการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องเดียวกันนี้เอง จะเป็นข้อมูลให้กับหลายๆหน่วยงานในประเทศ และย้ำถึงความสำคัญของการเลือกใช้และปฏิบัติกับอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เราจึงนำบทเรียนจากการฝึก ซึ่งโชคดีที่ยังไม่เกิดความสูญเสีย มาฝากให้ทราบกันครับ

สถานการณ์จำลองที่ได้กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วยทีมโรยตัวด้วยเชือกแบบเร่งด่วน (Fast Rope) ในเฮลิคอปเตอร์ลำแรก และทีมโรยตัว (Rappelling) ในลำที่สอง ซึ่งทั้ง 2 ทีมจะปฏิบัติภารกิจโรยตัวและมีการยิงปะทะผู้ก่อการร้าย ทั้งในอาคารและบนภาคพื้น หลังจากการยิงปะทะสิ้นสุดลง เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำ จะทำการบินกลับมารับทหารผู้บาดเจ็บจากการปะทะจำนวน 2 นาย เพื่อนำส่งไปรักษายังหน่วยแพทย์ใกล้เคียงให้ทันท่วงทีต่อไป

ในสถานการณ์จำลองที่กำหนดนั้น ได้มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย ทีมโรยตัวด้วยเชือกแบบเร่งด่วน (Fast Rope) ในระหว่างแสดงการสาธิตอยู่นั้น เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติภารกิจจำลอง ซึ่งต้องทำงานภายใต้เวลาที่จำกัด เพื่อกระชับภารกิจให้จบอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของชุดที่จะทำการโรยตัวนั้น จะต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ใส่ถุงมือที่หลวมและหนา ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ประกอบอากาศยาน ในขณะที่สวมถุงมืออยู่ได้ รวมไปถึงการปิดล็อคคาราบิเนอร์อย่างถูกต้องปลอดภัยด้วยเช่นกัน

จากการที่ต้องปฏิบัติให้ทันเวลาการแสดงนั้น ส่งผลให้มีความเร่งรีบเกิดขึ้น ทำให้การใช้งานคาราบิเนอร์นั้น ไม่ได้ถูกปิดล็อคอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจทำให้เกลียวล็อคของคาราบิเนอร์ คลายและเปิดออกได้อย่างรวดเร็ว

จากการวิเคราะห์ด้วยภาพวีดิโอแล้ว เราพบสาเหตุของปัญหา กล่าวคือคาราบิเนอร์ทั้งหมดในการแสดงสาธิตการเคลื่อนย้ายด้วยอากาศยาน (Short-Haul) ครั้งนี้ ไม่ได้ถูกล็อค ซึ่งคาราบิเนอร์จะเป็นอุปกรณ์เกี่ยวโยงระหว่างเชือกและผู้ปฏิบัติเพียงชิ้นเดียว ที่เจ้าหน้าที่จะต้องฝากชีวิตไว้ขณะที่ห้อยตัวอยู่ใต้เฮลิคอปเตอร์ ที่ความสูงกว่า 150 เมตร เหนือพื้นดิน ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับคาราบิเนอร์แล้ว เจ้าหน้าที่ท่านนั้นอาจจะตกลงมาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเลยทีเดียว

จากภาพที่เราบันทึกไว้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยและผู้บาดเจ็บ ได้หมุนเกลียวล็อคคาราบิเนอร์ไว้ อย่างเร่งรีบและไม่สมบูรณ์ เนื่องจากใช้ถุงมือที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกลียวไม่ได้ถูกหมุนล็อคจนสุด ประกอบกับแรงสั่นสะเทือนของเฮลิคอปเตอร์ อาจจะทำให้เกลียวล็อคคลายออกได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

ข้อแนะนำ :

การเลือกใช้ถุงมือที่เหมาะสมนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญในแต่ละปฏิบัติการณ์ เพื่อให้สามารถใช้งานมือของเราได้อย่างปกติแม้ในขณะสวมถุงมือ ซึ่งถุงมือหนังแบบหนาและหลวมนั้น อาจจะมีราคาถูก แต่จำเป็นต้องแลกด้วยความเสี่ยงถึงชีวิตหรือไม่ เพราะผู้สวมใส่จะไม่สามารถใช้มือหรือนิ้ว สำหรับทำงานทั่วไปได้อย่างถนัดอย่างแน่นอน และส่งผลไปถึงความอันตรายนานับประการที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัญหาเรื่องความปลอดภัยนั้น อาจมีสาเหตุโดยตรงมาจากการเลือกใช้ถุงมือที่ไม่เหมาะสม

นอกเหนือจากนี้ แนะนำให้มีการใช้คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ (Auto-Locking) ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใช้งานกับอากาศยาน ที่มีปัจจัยเรื่องแรงสั่นสะเทือน แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้งานคาราบิเนอร์แบบเกลียวล็อค ท่านต้องแน่ใจและมั่นใจได้ว่า เกลียวล็อคนั้นได้ถูกหมุนล็อคจนสุดแล้วเท่านั้นก่อนการปฏิบัติ

สนใจสอบถามข้อมูล จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้ที่ Safe House ครับ

Tags: , , , , , , ,

Carabiner Tool มัลติทูลพันธุ์ใหม่ จาก Kershaw

Kershaw เป็นบริษัทผู้ผลิตมีด ที่มีชื่อเสียงในด้านคุณภาพ ความประณีต และมาตรฐานในการผลิตมายาวนาน ตั้งแต่ปี 1974 ซึ่งได้ออกแบบและผลิตมีดมาแล้วมากมายหลายแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทย นอกเหนือจากมีดแล้ว Kershaw ยังพัฒนามีดและเครื่องมือในรูปร่างใหม่ ซึ่งผมจะมาแนะนำให้รู้จักกันครับ

Carabiner Tool (คาราบิเนอร์ ทูล) เป็นการผสมผสานมีด เข้ากับห่วงเกี่ยว หรือที่เรียกว่า carabiner (คาราบิเนอร์) ซึ่งปกติเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกับเชือก หรือใช้ประกอบการโรยตัว และแขวนอุปกรณ์ต่างๆ แต่ในซีรี่ย์ Kershaw Carabiner Tool นั้น คาราบิเนอร์ที่ออกแบบมาร่วมกับมีดนี้ จะไม่ได้มีไว้เพื่อโรยตัว หรือรับน้ำหนักบุคคลนะครับ แต่จะออกแบบเพื่อเป็นมัลติทูลรูปทรงแปลกใหม่ มาพร้อมเครื่องมือที่เราใช้ในชีวิตประจำวันกันบ่อยๆ โดยจะมีประโยชน์ใช้สอยในแบบ 5 in 1 ได้แก่ มีด, ไขควงปากแฉก (Phillips), ไขควงปากแบน (Slotted), ที่เปิดฝาขวด และืคาราบิเนอร์

มี 4 รุ่นให้เลือก สีดำ, สีแดง, สีเงิน และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละรุ่นจะต่างกันตรงสี และวัสดุในการผลิตใบมีดครับ Kershaw Carabiner Tool ออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการพกพา โดยสามารถล็อคเข้ากับเข็มขัด, กระเป๋า, เป้ หรืออุปกรณ์ที่มีระบบ Molle โดยตัวมีดมีลักษณะเป็นใบกึ่งหยัก ทำจาก High carbon, stainless steel blade ล็อคมั่นคงด้วยสแตนเลส Linerlock (ไลเนอร์ล๊อค) ระบบเปิดมีดแบบรู (Thumb Hole) เปิดมีดได้ง่ายดายด้วยมือเดียว

ตัวบอดี้ผลิตจากอลูมิเนียม เกรดที่ใช้ผลิตอากาศยาน มีน้ำหนักรวมเพียง 2.7 ออนซ์ (สวยงามและหยิบจับได้มั่นคง เพราะออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของการผลิต Carabiner ก้านปิด/เปิด ล็อคด้วยระบบเกลียวหมุนล็อค (Screw Lock) เคลือบดำดโนไดซ์ 6061-T6 บอดี้เคลือบด้วย Teflon สีต่างๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด *Kershaw Carabiner Tool ไม่สามารถนำมาใช้โรยตัว หรือรับน้ำหนักบุคคล ตามมาตรฐานอุปกรณ์โรยตัวกู้ภัยได้นะครับ ผู้ใช้จะต้องจดจำจุดนี้เอาไว้ ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ครับ*

Carabiner Tool มีดอเนกประสงค์ จาก Kershaw มีจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ Safe House ครับ

คุณลักษณะอุปกรณ์

Kershaw Carabiner Tool

  • 1004NBX (ดำ) เหล็ก : 7CR13MoV
  • 1004RDX (แดง) เหล็ก : 4CR14
  • 1004SLX (เงิน) เหล็ก : 4CR14  กำลังจะเลิกผลิตครับ
  • ด้ามจับ : อลูมิเนียมเคลือบเทฟลอนสีดำ
  • ความยาว ใบมีด : 8.1 ซม.
  • ความยาวเมื่อเก็บใบ : 10.4 ซม.
  • ความยาวโดยรวม : 18.5 ซม.
  • น้ำหนัก : 2.7 ออนซ์

Tags: , ,

Carabiners คาราบิเนอร์ คืออะไร สำคัญอย่างไร

NFPA-G Screw Lock, NFPA-G Auto Lock, NFPA-L Manual Lock, Non-Locking, and HMS Carabiner

คาราบิเนอร์ Carabiners หรือ Karabiner คือ ห่วงเกี่ยวนิรภัย ที่ใช้ประกอบการโรยตัว หรือใช้งานกับเชือกและอุปกรณ์อื่นๆ สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยง, ยกสิ่งของ, ลากรถ, ใช้เกี่ยวหรือดึงอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร ผมได้รวบรวมข้อมูลมาแบ่งปันกันครับ

คาราบิเนอร์ Carabiners เป็นห่วงเกี่ยวที่มีส่วนของโครงและก้านเปิด ใช้ในการรับน้ำหนักของวัตถุหรือบุคคล โดยยึดโยงน้ำหนักจาก 2 จุดเข้าด้วยกัน ซึ่งคาราบิเนอร์ต้องมีความแข็งแรงมากพอ ที่จะรับนำหนักนั้นๆเอาไว้ และหลายครั้งคาราบิเนอร์ก็มีบทบาท ในการใช้รับน้ำหนักบุคคล ในการกู้ภัย ซึ่งต้องเอาชีวิตคนไปแขวนอยู่บนเชือกและอุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น ที่ต้องเลือกใช้งานอย่างเข้าใจ เพราะหากเลือกคาราบิเนอร์ผิดประเภท เจ้าห่วงเล็กๆก็อาจทำให้เกิดอันตรายใหญ่หลวงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ถูกแยกออกตามประเภทการใช้งาน คาราบิเนอร์ มี 4 ประเภทการใช้งานหลักๆ

1. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานเชิงกีฬา

2. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้รับน้ำหนักบุคคลคนเดียว งานบนที่สูง หรือการป้องกันตก

3. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่องานกู้ภัย ที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าบุคคลคนเดียว

4. คาราบิเนอร์ ที่ออกแบบเพื่อประดับตกแต่ง หรือไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึก

How much do you trust your carabiners?

คาราบิเนอร์ที่ใช้เกี่ยวพวงกุญแจ หรือประดับตกแต่ง มักจะมีราคาไม่สูง เช่น ใช้ทำเป็นพวงกุญแจ คล้องถุงมือ, คล้องหูกางเกง ฯ วัตถุประสงค์เพื่อ รับน้ำหนักอุปกรณ์เล็กๆ และไม่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก ซึ่งไม่ควรจะนำไปใช้ในการป้องกันการตกจากที่สูง หรือใช้ในงานกู้ภัย เพราะอาจเกิดอันตรายได้ คาราบิเนอร์ประเภทนี้ที่รู้จักกันดี คือ Grimlock , Taclink ฯ

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานเชิงกีฬา เป็นคาราบิเนอร์ที่ราคาถูกที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ที่มีการระบุอัตราการรับน้ำหนัก และมักจะออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบุคคลเพียงคนเดียว หลักในการออกแบบคาราบิเนอร์เชิงกีฬา คือ ต้องมีขนาดกะทัดรัดและเบา เช่น คาราบิเนอร์สำหรับปีนเขา, ไต่หน้าผา

คาราบิเนอร์ที่ใช้งานป้องกันตก ถูกออกแบบให้ทนทาน ส่วนมากจะผลิตจากเหล็ก แต่รูปทรงอาจจะดูไม่ทันสมัย และทดสอบการรับน้ำหนักบุคคลคนเดียว เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง มาตรฐานความปลอดภัยกำหนดให้ทนแรงดึง ได้ประมาณ 22 Kn.

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ัภัย เป็นคาราบิเนอร์ที่ทนต่อการรับน้ำหนักมากที่สุด ในบรรดาคาราบิเนอร์ ซึ่งมาตรฐาน NFPA 1983(2006) กำหนดให้รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 27 Kn.

ความทนทานของคาราบิเนอร์ ใช้หน่วยวัดเป็นกิโลนิวตัน KiloNewtons (kN) 1 กิโลนิวตัน เท่ากับ 101.97 กิโลกรัมของแรง หรือ Kilogram force วิธีง่ายๆในการจำ คือ 1 กิโลนิวตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักคนหนึ่งคน พร้อมด้วยอุปกรณ์ (อุปกรณ์ประจำตัว, อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย) น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม

ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ระบุว่า รับน้ำหนักหรือทนแรงดึงได้ 30 kN อาจดูเหมือนทนทานมาก แต่ตัวเลขอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดให้ไม่ควรใช้คาราบิเนอร์ รับน้ำหนักเต็มอัตราตามที่ระบุไว้ แต่ควรใช้ปัจจัยด้านความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า safety factor ซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุด ที่คาราบิเนอร์สามารถรับได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับงานกู้ภัยทั่วไปจะใช้อัตรา 10:1 ส่วนงานดับเพลิงกู้ภัยจะใช้อัตรา 15:1 เนื่องจากน้ำหนักอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีมาก ดังนั้นถ้าคาราบิเนอร์ทนแรงดึงได้ 30 kN ควรจะใช้รับน้ำหนัก สูงสุดที่ 3 kN หรือประมาณ 300 กิโลกรัม ยิ่งเมื่อต้องใช้รอกทดแรง หรือน้ำหนักที่เคลื่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง การรับน้ำหนักคนเพียงคนเดียว สามารถทำให้คาราบิเนอร์หักได้ิอย่างง่ายดาย จากแรงดึงที่เกิดขึ้นในการทดแรงนั้นเอง

ในยุโรป คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้รับน้ำหนักบุคคล จะต้องผ่านมาตรฐาน EN 362:2004 “ห่วงเกี่ยวนิรภัย สำหรับอุปกรณ์ป้องกันภัยประจำบุคคล ในการป้องกันการตกจากที่สูง ” มาตรฐานนี้ระบุว่า คาราบิเนอร์จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุด (minimum breaking strength) ที่ 20kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 15kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของคาราบิเนอร์

ในอเมริกา ใช้มาตรฐานสมาคมดับเพลิงกู้ภัย NFPA 1983 (2006 ed) กำหนดความปลอดภัยของ “เชือกที่ใช้ในการกู้ภัย และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง” ครอบคลุมคาราบิเนอร์สำหรับ ‘light-use’ เช่น คาราบิเนอร์ที่ออกแบบเพื่อรับน้ำหนักบุคคล โดย NFPA 1983:06 กำหนดให้คาราบิเนอร์ ‘Light-Use’ จะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดอยู่ที่ 27kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 7kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 7kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด

NFPA 1983:06 ระบุให้แยกประเภทคาราบิเนอร์ เพื่อใช้รับน้ำหนักงานกู้ภัยโดยเฉพาะ เป็นแบบ ‘General-Use’ ซึ่งคาราบิเนอร์ที่ใช้ในงานกู้ภัยจะต้องมีจุดหักตัวต่ำสุดที่ 40kN สำหรับการรับน้ำหนักแนวดิ่งโดยแกนหลักและปิดล็อค, 11kN สำหรับเมื่อใช้ในขณะที่ก้านเปิดเปิดค้างอยู่ และ 11kN เมื่อรับน้ำหนักแนวตรงกับก้านเปิด โดยที่ NFPA lowered open-gate strength requirements for carabiners are because unlike EN362, NFPA กำหนดให้คาราบิเนอร์มี to have a locking gate mechanism ซึ่งมีมาตรฐานอื่นๆในการกำหนดความปลอดภัย แต่ มาตรฐาน EN362 และ NFPA 1983 เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ และกำหนดให้แสดงอัตราการรับน้ำหนัก ลงบนคาราบิเนอร์ทุกตัว

ข้อกำหนดตามมาตรฐานมีอีกมากมาย แต่หากคาราบิเนอร์มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ในด้านรูปทรงและลักษณะภายนอก ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ จุดมุ่งหมายในการใช้งานเป็นตัวกำหนดรูปทรง วัสดุ และคุณสมบัติของคาราบิเนอร์ วัสดุที่ใช้ทำคาราบิเนอร์โดยส่วนใหญ่ ทำจากอลูมิเนียม หรือเหล็ก แต่คาราบิเนอร์รุ่นใหม่ทำจากวัสดุพิเศษ เช่น ไทเทเนียม

สำหรับ CMC Rescue เป็นผู้ผลิตคาราบิเนอร์เพื่องานกู้ภัย และมีคาราบิเนอร์ซึ่งทำจากแสตนเลสทุกชิ้นส่วน แม้แต่สปริงด้านใน รูปทรงของคาราบิเนอร์ ส่วนมากมักเป็นรูปตัว D เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ช่วยเอื้อให้การรับน้ำหนัก อยู่ในจุดที่แข็งแรงที่สุดของคาราบิเนอร์ได้ง่าย Major Axis และจุดรับน้ำหนักจะอยู่ห่างจากก้านเปิด ช่วยลดอันตรายจากการรับน้ำหนักในจุดที่อ่อนแอที่สุด Minor Axis ลงได้

คาราบิเนอร์ในยุคแรกเริ่ม จะมีก้านเปิดเป็นแบบไม่มีตัวล็อค หรือแบบหมุนล็อคเป็นส่วนมาก

คาราบิเนอร์ที่ใช้ในเชิงกีฬา บางครั้งใช้คาราบิเนอร์ที่ไม่มีระบบล็อค หรือใ้ช้ก้านเปิดแบบลวด เพื่อช่วยลดน้ำหนักอุปกรณ์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบใหม่มักใช้ก้านเปิดแบบล็อคอัตโนมัติ Auto-locking หรือบิดหมุนล็อคเข้าสลัก manual-locking คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ จะล็อคทันทีที่ก้านเปิดถูกปิด ซึ่งต้องใช้การบิดและกดเพื่อเปิด 2 ขั้นตอน หรือดันลง แล้วจึงหมุน และกดเพื่อเปิด 3 ขั้นตอน

คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ ช่วยให้เปิดและปิดได้สะดวกรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะลืมล็อคคาราบิเนอร์ ส่วนคาราบิเนอร์แบบบิดหมุนล็อค Manual-locking เป็นคาราบิเนอร์ดีไซน์ใหม่ล่าสุด ซึ่งผู้ใช้ต้องบิดเพื่อให้ก้านเปิดเข้าล็อค แทนที่จะใช้การหมุนเกลียวล็อคซึ่งจะล็อคได้ช้ากว่า

นอกเหนือจากการใช้งานที่ง่ายขึ้น คาราบิเนอร์แบบล็อคอัตโนมัติ และบิดหมุนล็อคเข้าสลัก ยังเป็นคาราบิเนอร์ที่เหมาะกับงาน ที่มีแรงสั่นสะเทือนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้คาราบิเนอร์แบบเกลียวหมุน คลายเกลียวออกได้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากต้องใช้งานบนอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์

ยังมีเรื่องราวและข้อสังเกตุเกี่ยวกับคาราบิเนอร์อีกมากมาย เอาไว้่ผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ

Tags: , , , , ,