หลังจากที่ผมได้เคยแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ Windmill Delta lighter ไฟแช็คท้าฝน ทนลม ที่มีพลังสูง จุดติดง่าย ไม่ดับเพราะแรงลมกันไปแล้ว คราวนี้ผมจะทดลองใช้เจ้าไฟแช็คพลังสูงตัวนี้ เพื่อแนะนำให้เห็นภาพกันชัดๆครับ

ครั้งแรกที่ได้ลองจับเจ้าไฟแช็คจอมทรหดตัวนี้ ต้องบอกว่ารู้สึกได้เลยครับถึงความแข็งแรง และทนทานของตัวไฟแช็ค เพราะโครงสร้างของมันทำจากพลาสติกกันกระแทกอย่างดี  มีการซีลขอบไว้สำหรับป้องกันน้ำเข้าในทุกจุด น้ำหนักเบา มีจุดสำหรับเติมแก๊สด้านล่างของตัวไฟแช็ค ส่วนด้านในตัวไฟแช็คบริเวณที่ต้องสัมผัสกับความร้อน จะถูกบุไว้ด้วยเซรามิกทนไฟ เพื่อป้องกันความร้อนที่เกิดจากเปลวไฟในขณะที่คุณจุดไฟ

ขณะจุดไฟ

ระบบจุดไฟ ของ Windmill Delta lighter  เป็นแบบเพียโซอิเล็กทริกส์ (piezoelectric material) ซึ่งไม่ใช่ถ่านไฟแช็ค เหมือนกับไฟแช็คทั่วๆไปตามท้องตลาด โดยใช้เชื้อเพลิง คือ แก๊สบิวเทน (butane) ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้แก๊สบิวเทนเป็นเชื้อเพลิง ก็เนื่องจากสามารถหาได้ง่าย และราคาไม่แพง รวมทั้งเมื่อเผาไหม้แล้ว นอกจากจะให้ความร้อนสูง มันยังไม่ทิ้งคราบเขม่าเหลือให้รำคาญอีกด้วย

ในการทดสอบครั้งนี้ผมใช้แก๊สเติมไฟแช็คยี้ห้อ  S White ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วๆไป ราคาไม่กี่สิบบาทครับ

ขณะนำลงไปแช่ในน้ำ

ทีนี้ผมจะลองเอามาจุดไฟขณะที่เปียกน้ำดูครับว่า จะสามารถทำได้ดีแค่ไหน โดยการเอามาจุ่มลงไปในน้ำซักพัก แล้วเอาขึ้นมาลองจุดไฟดูครับ ปรากฏว่าสามารถจุดติดได้โดยไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้าจะให้ดีเมื่อเอาขึ้นจากน้ำแล้วถ้ายังไม่ได้ใช้งานในทันที ก็ควรจะเช็ดให้แห้งดีกว่าครับ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของไฟแช็ค

ต่อไปผมจะลองจุดไฟในขณะที่ลมแรงมากๆครับว่า จะสามารถจุดได้หรือไม่ โดยทางผู้ผลิตบอกว่าสามารถจุดได้แม้ในขณะความเร็วลมสูง 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่เนื่องจากผมคงไม่สามารถหาสถาณการณ์ที่มีความเร็วลมขนาดนั้นได้ ในการทดสอบก็เลยใช้วิธีการจำลองสถานการณ์ โดยการเอาพัดลมตั้งโต๊ะมาเปิดแทนครับ โดยผมเปิดพัดลมไปที่เบอร์ 3 ซึ่งเป็นเบอร์แรงสุด แล้วเอา Windmill Delta lighter มาจุดลองดูด้านหน้าพัดลม ซึ่งหลังจากลองจุดดูก็พบว่า สามารถจุดติดได้ครับ แม้ว่าจะมีลมแรงพัดใส่อยู่ก็ตาม ซึ่งไฟแช็คตามท้องตลาดที่เราเห็น (แบบที่ราคาไม่เิกิน 50 บาท) ไม่สามารถทำแบบนี้ได้แน่นอน เปลวไฟของไฟแช็ค สามารถต้านทานแรงลมได้ดีทีเดียวครับ ทำให้ผมมั่นใจว่าเพียงพอที่จะใช้จุดไฟ ในสถานการณ์ที่ลมพัดแรงมากๆได้

ทดลองจุดไฟขณะมีลมแรง

มาถึงขั้นตอนของการเติมแก๊สบิวเทน (butane) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของ Windmill Delta lighter ครับ ในการเติมแก๊สเราจะมีวิธีการดังนี้ครับ

1.ในการบรรจุแก๊ส ควรทำในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก อยู่หางจากแหล่งความร้อน, เปลวไฟ หรือประกายไฟ และควรอ่านข้อบ่งใช้บนกระป๋องแก๊สให้ละเอียดก่อนใช้งาน

การเติมแก๊ส

2.ในขณะที่เติมแก๊ส ให้ปิดฝาครอบไฟแช็คไว้ เพื่อป้องกันการจุดไฟโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วทำการปรับตัวควบคุมความแรงของไฟ( Flame level adjustment) ให้เป็นลบ(-) โดยตัวควบคุมนี้จะอยู่บริเวณช่องสำหรับเติมแก๊ส มีลักษณะคล้ายๆโอริงสีดำ สังเกตุดูจะมีเครื่องหมาย (+)และ(-) อยู่ด้วยครับ

3.นำกระป๋องแก๊สมาเสียบเข้ากับช่องสำหรับเติมแก๊ส ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านล่างของตัวไฟแช็ค ให้คว่ำไฟแช็คลง ให้จุดที่ใช้เติมแก๊สอยู่ด้านบน กดกระป๋องแก๊สค้างไว้ 4-5 วินาที ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าแก๊สจะเต็ม โดยสังเกตุจากฟองอากาศครับ ฟองอากาศจะหมดไปเมื่อเติมแก๊สเต็มแล้ว

4.หลังจากเติมแก๊สเสร็จแล้ว ให้รอประมาณ 1-2 นาที ปรับตัวควบคุมไปทางเครื่องหมายบวก(+) แล้วจึงนำไปใช้งานได้ครับ

หลังจากที่ได้ทำการทดสอบ Windmill Delta lighter ในรูปแบบต่างๆแล้ว ผมสามารถบอกได้ว่า เจ้าไฟแช็คจอมอึดตัวนี้ สามารถใช้งานได้ดีในทุกสถานการณ์จริงๆ ไม่ว่าจะลมแรง, เปียกน้ำ ก็ยังสามารถจุดติดได้ โดยไม่มีอาการรวนหรือติดขัดแต่อย่างใด

ทำให้ผมมั่นใจได้ว่า หากเมื่อไหร่ที่ท่านต้องการอุปกรณ์ในการจุดไฟ ที่เชื่อถือได้และไม่บอบบาง Windmill Delta lighter จะเป็นตัวเลือกอันดับแรกของผมเลยครับ อย่าเพิ่งเชื่อผมแนะนำให้พิสูจน์ตัวจริงของ Windmill Delta lighter ด้วยตัวคุณเอง ที่  Safe House ครับ

Tags: , ,