fbpx

Archive for category Shooting

พิษภัยจากเสียงในพื้นที่รบ ต่อการสั่งการ

การสูญเสียการได้ยินจากเสียงปืน เป็นปัญหาความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะปัญหาจากการได้ยิน ที่เกิดจากเสียงปืนดังฉับพลัน กระทบกระเทือนประสาทการรับเสียง จากปัญหานี้สามารถพัฒนาไปเป็นอาการของโรคเสียงดังในหู(Tinnitus) เหมือนมีเสียงไมโครโฟนหวีดดังในศีรษะตลอดเวลา และจะยิ่งดังมากขึ้น เมื่อมีเสียงดังจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ยิ่งนานเข้าอาจถึงกับสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรเลยทีเดียว

ทหารพราน ลาดตระเวนใน จ.ยะลา

ในทางทหารแล้ว ผลเสียจากเสียงดังที่ได้ยิน ส่งผลกระทบไปถึงความปลอดภัยที่สำคัญอื่นๆ ในการจัดกำลังสำหรับหน่วยปกติ หนึ่งหมวด มักจะมีเจ้าหน้าที่ 4-6 นาย ภายใต้การสั่งการของหัวหน้าชุด

บทเรียนของกองทัพสหรัฐฯ จากสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่า เมื่อทีมมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้นำเพียงคนเดียวไม่สามารถสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเหตุผลนี้เองส่งผลต่อการจัดกำลังของชุดปฏิบัติการเล็ก ให้มีจำนวนเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่นาย ในการฝึกหรือลาดตระเวน เพื่อให้ง่ายต่อการออกคำสั่งและควบคุมทหารกลุ่มเล็ก

US Navy SEALs ใช้ที่อุดหู Ear Plugs ลดเสียง

แต่ปัญหาจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดการสู้รบจริงปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการสู้รบของทหาร คือ การกระจายกำลังกันออกไป ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการขยายขนาด และประสิทธิผลในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น แต่การกระจายกำลังจะสร้างปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมสั่งการ ยิ่งไปกว่านั้น การสูญเสียการได้ยินระยะสั้นจากเสียงปืนของเจ้าหน้าที่แต่ละนาย ก็ยิ่งทำให้การรับคำสั่ง ยิ่งกลายเป็นเรื่องยากลำบาก

ทำให้ผู้บังคับบัญชาต้องเลือก ระหว่างอำนาจการสั่งการ และความปลอดภัยของทหารทุกคน ซึ่งในสภาวการณ์รบ คุณต้องใช้ทั้งประสาทหูและตาเพื่อรักษาชีวิต แต่หากประสาทสัมผัสด้านการรับฟังเกิดปัญหาเสียแล้ว สัมผัสที่ยังเหลือและพึ่งพาได้คือ การใช้ตามองเพียงอย่างเดียว หากการรบยืดเยื้อออกไปจนค่ำ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

USAF Pararescue ใช้ Peltor Comtac ป้องกันเสียง

เมื่อการยิงต่อสู้หยุดลง สิ่งต่อไปที่ต้องระวัง คือ ข้าศึกที่กำลังหลบหนี หรือการกลับมาสอดแนมตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยคุณ ในขณะที่หูของคุณซึ่งรับฟังเสียงกระสุน มาตลอดการปะทะจะลดประสิทธิภาพลง เกิดข้อจำกัดเพียงการใช้สายตา สอดส่อง, สังเกตุ, มองหา และควบคุมพื้นที่ เพื่อระวังความปลอดภัยของตนเท่านั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสั่งการของหัวหน้าชุด และการควบคุมการทำงานของหน่วย

ในสภาพแวดล้อมแบบป่าภูเขา จะเกิดอุปสรรคจากสภาพภูมิประเทศ สำหรับการรบในเมือง ที่มีทั้งตึกสูงและเหลี่ยมมุมของอาคาร ทัศนวิสัยในการมองเห็น ก็ยิ่งถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น ถ้าต้องรบในเวลากลางคืนด้วยแล้ว การควบคุมสั่งการ ก็ยิ่งจะทำได้ยาก หากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ความเสี่ยงต่ออันตรายก็ยิ่งมีสูงขึ้น

US NAVY SEALS ใช้ Earplugs ช่วยลดเสียง

การแก้ปัญหาทางหนึ่ง คือการหาเครื่องช่วยและป้องกันการได้ยิน เช่น ที่อุดหูลดเสียง รุ่น Combat Arms Earplugs สามารถเลือกสวมได้สองทาง จะช่วยให้ผู้สวมใส่ยังคงได้ยินเสียงสนทนา ในขณะที่ช่วยตัดเสียงสูงและดังกระทันหันของเสียงปืนและระเบิดได้ดีกว่าที่อุดหูทั่วไป ส่วนชุดหูฟังที่มีคุรสมบัติมากขึ้น เช่น Peltor Comtac XS ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยขยายและลดเสียง จากสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ใช้งาน ช่วยขยายเสียงรอบข้างได้ชัดเจนกว่าปกติ และลดเสียงที่ดังอย่างกระทันหัน เพื่อปลอดภัยต่อการได้ยิน Peltor Comtac XS ยังสามารถใช้งานร่วมกับชุดวิทยุสื่อสาร สามารถนำวิทยุสื่อสารต่อตรงเข้ากับชุดหูฟังได้ เพื่อการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการสั่งการให้ดียิ่งขึ้นในระหว่างการรบ Peltor Comtac XS ออกแบบให้สามารถใส่ได้กระชับกับหมวกกันกระสุน แตกต่างจากชุดหูฟังที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

พิษภัยจากเสียง ป้องกันได้ด้วยอุปกรณ์ป้องกัน การป้องกันเสียง มีความสำคัญไม่เฉพาะต่อสุขภาพของกำลังพลเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการจบภารกิจให้สำเร็จลุล่วง และช่วยเพิ่มความปลอดภัย เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยอื่นๆ ที่จะส่งผลดีก็ต่อเมื่อ คุณมีอุปกรณ์ดังกล่าว และผู้ใช้เข้าใจการใช้งานอย่างถูกต้อง ช่วยให้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อุปกรณ์ป้องกันเสียงของ Peltor รวมถึง Combat Arms Earplugs และ Peltor Comtac มีจำหน่ายแล้วที่ Safehouse

Tags: ,

ยิงปืนอย่าง ปลอดภัย ฝึกให้ขึ้นใจ ทำให้จริงจัง

ภาพอุบัติเหตุจากปืนลั่นเข้าใส่ผู้สื่อข่าวเสียชีวิต ในระหว่างพิธีปิดงาน SAREX 2006 จ.พิษณุโลก

ก่อนที่เราจะเริ่มเขียนบทความ เกี่ยวกับการยิงปืนและอุปกรณ์ปืน สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องพูดถึง อันดับแรก คือ ความปลอดภัยในการเรียนยิงปืน การยิงปืนมีหลากหลายประเภท เช่น การยิงปืนเพื่อการกีฬา, การยิงปืนเพื่อป้องกันตัว ในภาวะฉุกเฉิน และการยิงปืนเชิงยุทธวิธี ซึ่งมีกฎของความปลอดภัยในการเรียนที่แตกต่างกัน บางครั้งอาจทำให้เกิดความสับสนกับผู้เรียน

อย่างที่หนึ่ง การยิงปืนเพื่อการกีฬา จะมีกฎความปลอดภัยพื้นฐาน 3 ข้อ ซึ่งออกโดย United States NRA (National Rifle Association)

  • ข้อ 1. เล็งปืนไปในทิศทางที่ปลอดภัยเท่านั้น
  • ข้อ 2. ห้ามเอานิ้วเข้าโกร่งไก จนกว่าจะพร้อมยิง
  • ข้อ 3. ห้ามบรรจุกระสุนใส่ปืน จนกว่าจะพร้อมยิง

แต่ในความเป็นจริงกฎ 3 ข้อนี้ ใช้ได้ดีในการแข่งขันยิงปืน หรือการยิงปืนเพื่อการแข่งขันเชิงกีฬา แต่ในสถานการณ์จริง กลับใช้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร กฎข้อที่มีปัญหาชัดเจนที่สุด คือ กฎข้อ 3 “ห้ามบรรจุกระสุนจนกว่าจะพร้อมยิง” คำว่า “พร้อมยิง” ไม่สามารถให้คำนิยามได้ชัดเจน ว่าเมื่อไหร่คือพร้อมยิง

ในการแข่งขันยิงปืน ผู้จับเวลาหรือกรรมการ จะเป็นคนบอกให้ “พร้อมยิง” โดยที่นักกีฬาทุกคนจะเข้าใจคำนี้ แต่ในกรณีที่คุณอยู่นอกสนามยิงปืน ใครจะตัดสินใจว่า พร้อมหรือไม่พร้อม และคนพกอาวุธทุกคน ก็คงมีการตัดสินใจต่างกันในสถานการณ์ที่ต่างกัน ความสับสนและไม่ชัดเจนนี้เอง ทำให้กฎข้อนี้ดูคลุมเครือและอันตราย

โดยปกติแล้วการ ยิงปืนในประเทศไทย จะทำในลักษณะ “Cold” range หมายความว่า ปืนจะถูกบรรจุกระสุน ต่อเมื่อจะทำการยิงเท่านั้น การฝึกอีกประเภทเรียกว่า “Hot” range หมายถึงปืน จะบรรจุกระสุนและใส่ไว้ในซองปืนตลอดเวลาการเรียน ซึ่งการฝึกประเภทนี้ จะเป็นการปฏิบัติทั่วไป ในการฝึกยิงปืนทางยุทธวิธี และการยิงปืนเพื่อป้องกันตัวในภาวะฉุกเฉิน เหตุผลที่ทำอย่างนั้น เพราะต้องฝึกให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับสถานการณ์จริง ซึ่งปืนจะบรรจุลูกเสมอ

เหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น หากเพื่อนของผู้เรียน เข้ามาร่วมฟังการสอน โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นการสอน “Hot” range และคิดว่าปืนไม่มีลูก เพราะยังไม่ได้พร้อมยิง เหตุอันตรายที่ไม่คาดคิด อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้การฝึกนั้น ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้มีการพัฒนาความปลอดภัย เป็นทางเลือกใหม่และใช้อย่างแพร่หลาย ในหลักสูตรการยิงปืนทางยุทธวิธี ในประเทศสหรัฐอเมริกา กฎความปลอดภัยใหม่นี้ ถูกพัฒนาขึ้นโดยบิดาแห่งการยิงปืนสมัยใหม่ Jeff Cooper กฎใหม่  4 ข้อนี้ ช่วยลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นได้ จากกฎการยิงปืนของ NRA

  1. ปืนทุกกระบอกมีกระสุน
  2. เล็งปืนไปทางที่ปลอดภัยเท่านั้น ห้ามเล็งใส่คน
  3. ห้ามเอานิ้วเข้าโกร่งไกปืน จนกว่าจะพร้อมยิง(ศูนย์จับอยู่บนเป้า)
  4. เช็คให้มั่นใจก่อนทำการยิง ว่าด้านหน้าและด้านหลังเป้าหมาย ปลอดภัย

กฎใหม่นี้ ทำให้เกิดความชัดเจนและปลอดภัยยิ่งขึ้น

กฎข้อที่ 1 ลดความเสี่ยงในเรื่องว่า ปืนมีหรือไม่มีลูกบรรจุอยู่ โดยให้นึกอยู่เสมอว่า ปืนทุกกระบอกมีลูกพร้อมยิง เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่จับปืน ให้เช็คทุกครั้ง ถ้ามีใครบอกว่าปืนไม่มีลูก ให้เช็คทุกครั้ง หรือถ้ามีใครเคลียร์ปืนแล้วส่งให้คุณ ให้เช็คซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และให้ปฏิบัติเช่นนี้จนเป็นนิสัย จำไว้เสมอว่า ปืนทุกกระบอกมีลูก เช็คด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและคนรอบตัว

กฎข้อที่ 2 ในขณะที่คุณถือปืน ห้ามเล็งปืนไปในทิศทางที่ไม่ปลอดภัย ในการทำการยิง เช่น ทางที่มีคนยืนอยู่ หรือเล็งใส่ตัวเอง เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ความบกพร่องของกลไกของตัวปืน ก็เป็นส่วนที่ต้องระวัง บางครั้งปืนที่ไม่ได้ถูกดูแลรักษามาเป็นอย่างดี อาจลั่นได้โดยที่เราไม่ได้เหนี่ยวไกปืนด้วยซ้ำ ในกรณีที่อุบัติเหตุอย่างนี้เกิดขึ้น ให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้เล็งไปในทิศทาง ที่ไม่ปลอดภัย

กฎข้อที่ 3 มักจะพบเห็นการละเมิดกฎข้อนี้ได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรยิงปืน การที่ไม่เอานิ้วเข้าไปในโกร่งไกนั้น เป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติทุกครั้งที่จับปืน โดยเฉพาะในกรณีที่ ต้องใช้ปืนในสถานการณ์ที่มีความเครียดสูง หรือมีเสียงรบกวนระหว่างการใช้งาน ควรจำไว้เสมอว่า ถ้าศูนย์ปืนยังไม่ได้จับไปที่เป้า หมายความว่าท่านพร้อมที่จะยิง อย่าเอานิ้วเข้าในโกร่งไก

กฎข้อที่ 4 ถูกเพิ่มเข้าไป ในกฎความปลอดภัยของการใช้ปืน คุณต้องมั่นใจในความปลอดภัยของเป้า ที่คุณจะยิง และด้านหลังของเป้า อย่าคิดเอาเองว่าเป้าที่คุณยิง จะหยุดลูกกระสุนได้ มีหลายกรณีที่กระสุนลูก 9 มม. ยิงทะลุร่างกายของคน ไปถูกคนที่อยู่ด้านหลัง เช่นเดียวกับที่กระสุน สามารถยิงทะลุกำแพงได้เช่นกัน นั่นเป็นสิ่งสำคัญ ที่คุณต้องระวังก่อนทำการยิง

หลายครั้งที่การเรียนยิงปืนบางสำนัก จะเห็นการละเลยกฎข้อ 1,2,3 หรือ ทั้ง 4 ข้อ อยู่เป็นประจำ เช่น นักเรียนเล็งปืนเข้าหากัน หรือนักเรียนเล็งปืนไปทางผู้ฝึกสอน บางหลักสูตรปืนยาว ยิงข้ามกำแพง โดยที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ของสิ่งที่อยู่ด้านหลังกำแพง และนักเรียนในชั้นเรียนหยิบปืนขึ้นมาดู โดยไม่ได้เช็คปืนด้วยตนเอง พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อตนเองและผู้อื่น หากเราไม่นึกถึงกฎความปลอดภัย

หลักสูตรการยิงปืนขั้นพื้นฐาน โอกาาสในการเกิดการบาดเจ็บอาจมีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับหลักสูตรการยิงปืนชั้นสูง เหตุผลเพราะปืน จะโหลดลูก เฉพาะเวลาที่จะทำการยิงเท่านั้น และผู้ฝึกสอนก็จะระแวดระวัง ในทุกขั้นตอนของการเรียนค่อนข้างดี แต่ในหลักสูตรการยิงปืนชั้นสูง (Advance Shooting) ความเสี่ยงจะสูงกว่ามาก เพราะฝึกสอนกันในแบบ hot range ซึ่งปืนจะบรรจุลูก และพร้อมจะลั่นได้ตลอดเวลา การฝึกจะมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากกว่า เช่น การเคลื่อนตัวยิง โดยบางครั้งต้องเคลื่อนตัวผ่านด้านหน้า และหลังของเพื่อนร่วมชั้น โดยที่พร้อมยิงเป้าหมายไปด้วย ยิ่งหลักสูตรยิงปืนในสภาพแสงน้อย (Night firing) จะยิ่งเป็นเรื่องยากต่อผู้ฝึกสอน ในการตรวจสอบความปลอดภัยในชั้นเรียน นักเรียนต้องมีความตระหนักถึงความปลอดภัยด้วยตัวเอง

ไม่ว่าคุณกำลังคิดจะเรียนยิง หรือเรียนมาแล้วหลายหลักสูตรก็ตาม เรามาช่วยกันทำให้การเรียนยิงปืน เป็นเรื่องของความปลอดภัย โดยช่วยกันปฏิบัติตามกฎ โดยเคร่งครัดกันนะครับ

Tags: