การสูญเสียการได้ยินจากเสียงปืน เป็นปัญหาความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะปัญหาจากการได้ยิน ที่เกิดจากเสียงปืนดังฉับพลัน กระทบกระเทือนประสาทการรับเสียง จากปัญหานี้สามารถพัฒนาไปเป็นอาการของโรคเสียงดังในหู(Tinnitus) เหมือนมีเสียงไมโครโฟนหวีดดังในศีรษะตลอดเวลา และจะยิ่งดังมากขึ้น เมื่อมีเสียงดังจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ยิ่งนานเข้าอาจถึงกับสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรเลยทีเดียว
ในทางทหารแล้ว ผลเสียจากเสียงดังที่ได้ยิน ส่งผลกระทบไปถึงความปลอดภัยที่สำคัญอื่นๆ ในการจัดกำลังสำหรับหน่วยปกติ หนึ่งหมวด มักจะมีเจ้าหน้าที่ 4-6 นาย ภายใต้การสั่งการของหัวหน้าชุด
บทเรียนของกองทัพสหรัฐฯ จากสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่า เมื่อทีมมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้นำเพียงคนเดียวไม่สามารถสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเหตุผลนี้เองส่งผลต่อการจัดกำลังของชุดปฏิบัติการเล็ก ให้มีจำนวนเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่นาย ในการฝึกหรือลาดตระเวน เพื่อให้ง่ายต่อการออกคำสั่งและควบคุมทหารกลุ่มเล็ก
แต่ปัญหาจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดการสู้รบจริงปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการสู้รบของทหาร คือ การกระจายกำลังกันออกไป ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการขยายขนาด และประสิทธิผลในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น แต่การกระจายกำลังจะสร้างปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมสั่งการ ยิ่งไปกว่านั้น การสูญเสียการได้ยินระยะสั้นจากเสียงปืนของเจ้าหน้าที่แต่ละนาย ก็ยิ่งทำให้การรับคำสั่ง ยิ่งกลายเป็นเรื่องยากลำบาก
ทำให้ผู้บังคับบัญชาต้องเลือก ระหว่างอำนาจการสั่งการ และความปลอดภัยของทหารทุกคน ซึ่งในสภาวการณ์รบ คุณต้องใช้ทั้งประสาทหูและตาเพื่อรักษาชีวิต แต่หากประสาทสัมผัสด้านการรับฟังเกิดปัญหาเสียแล้ว สัมผัสที่ยังเหลือและพึ่งพาได้คือ การใช้ตามองเพียงอย่างเดียว หากการรบยืดเยื้อออกไปจนค่ำ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เมื่อการยิงต่อสู้หยุดลง สิ่งต่อไปที่ต้องระวัง คือ ข้าศึกที่กำลังหลบหนี หรือการกลับมาสอดแนมตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยคุณ ในขณะที่หูของคุณซึ่งรับฟังเสียงกระสุน มาตลอดการปะทะจะลดประสิทธิภาพลง เกิดข้อจำกัดเพียงการใช้สายตา สอดส่อง, สังเกตุ, มองหา และควบคุมพื้นที่ เพื่อระวังความปลอดภัยของตนเท่านั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสั่งการของหัวหน้าชุด และการควบคุมการทำงานของหน่วย
ในสภาพแวดล้อมแบบป่าภูเขา จะเกิดอุปสรรคจากสภาพภูมิประเทศ สำหรับการรบในเมือง ที่มีทั้งตึกสูงและเหลี่ยมมุมของอาคาร ทัศนวิสัยในการมองเห็น ก็ยิ่งถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น ถ้าต้องรบในเวลากลางคืนด้วยแล้ว การควบคุมสั่งการ ก็ยิ่งจะทำได้ยาก หากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ความเสี่ยงต่ออันตรายก็ยิ่งมีสูงขึ้น
การแก้ปัญหาทางหนึ่ง คือการหาเครื่องช่วยและป้องกันการได้ยิน เช่น ที่อุดหูลดเสียง รุ่น Combat Arms Earplugs สามารถเลือกสวมได้สองทาง จะช่วยให้ผู้สวมใส่ยังคงได้ยินเสียงสนทนา ในขณะที่ช่วยตัดเสียงสูงและดังกระทันหันของเสียงปืนและระเบิดได้ดีกว่าที่อุดหูทั่วไป ส่วนชุดหูฟังที่มีคุรสมบัติมากขึ้น เช่น Peltor Comtac XS ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยขยายและลดเสียง จากสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ใช้งาน ช่วยขยายเสียงรอบข้างได้ชัดเจนกว่าปกติ และลดเสียงที่ดังอย่างกระทันหัน เพื่อปลอดภัยต่อการได้ยิน Peltor Comtac XS ยังสามารถใช้งานร่วมกับชุดวิทยุสื่อสาร สามารถนำวิทยุสื่อสารต่อตรงเข้ากับชุดหูฟังได้ เพื่อการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการสั่งการให้ดียิ่งขึ้นในระหว่างการรบ Peltor Comtac XS ออกแบบให้สามารถใส่ได้กระชับกับหมวกกันกระสุน แตกต่างจากชุดหูฟังที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
พิษภัยจากเสียง ป้องกันได้ด้วยอุปกรณ์ป้องกัน การป้องกันเสียง มีความสำคัญไม่เฉพาะต่อสุขภาพของกำลังพลเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการจบภารกิจให้สำเร็จลุล่วง และช่วยเพิ่มความปลอดภัย เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยอื่นๆ ที่จะส่งผลดีก็ต่อเมื่อ คุณมีอุปกรณ์ดังกล่าว และผู้ใช้เข้าใจการใช้งานอย่างถูกต้อง ช่วยให้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อุปกรณ์ป้องกันเสียงของ Peltor รวมถึง Combat Arms Earplugs และ Peltor Comtac มีจำหน่ายแล้วที่ Safehouse